Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับระบบโฟกัสกับการถ่ายภาพทิวทัศน์สำหรับมือใหม่

3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับระบบโฟกัสกับการถ่ายภาพทิวทัศน์สำหรับมือใหม่ ในครั้งนี้เราจะพูดถึงการโฟกัสภาพถ่ายวิวทิวทัศน์  ซึ่งเราได้รวบรวมแนวทางขั้นพื้นฐานที่เป็นประโยชน์และทริคที่น่าสนใจที่มือใหม่ควรรู้ไว้ให้ที่นี่เลยครับ

3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับระบบโฟกัสกับการถ่ายภาพทิวทัศน์สำหรับมือใหม่

1. จะโฟกัสอย่างไร

ก่อนอื่นเลยเราจะมาแยกประเภทของระบบโฟกัสกันก่อนครับ ระบบโฟกัสแบ่งออกได้สองประเภทหลักคือ Manual Focus คือ ระบบที่โฟกัส ที่เราสามารถปรับโฟกัสได้ด้วยมือของเราเอง  และอีกประเภทคือ Auto Focus หมายถึง ระบบโฟกัสอัตโนมัติ เป็นการทำงานของกล้องที่ตรวจจับความคมชัดของภาพด้วยตัวของระบบครับ

Auto Focus เป็นฟังก์ชันของกล้องที่หาจุดโฟกัสได้อัตโนมัติ ซึ่งในปัจจุบันจะมีทั้งระบบโฟกัสใบหน้า ดวงตา อัตโนมัติ จับโฟกัสได้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง ระบบเลนส์มีมอเตอร์ เพื่อให้ระบบโฟกัสทำงานได้อย่างรวดเร็วและจับโฟกัสได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น 

Manual Focus เป็นการทำงานของเลนส์ที่ผู้ถ่ายสามารถเลือกจุดที่จะโฟกัสได้เอง โดยจะมีจะมีระบบ Focus peaking ที่ช่วยให้ระบบโฟกัสทำงานได้อย่างแม่นยำมากขึ้น  

อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการถ่ายงานกลางคืน เราจะใช้ระบบ Manual Focus ในการทำงานเพราะระบบการวัดแสงของกล้องอาจจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์และมีข้อจำกัด ทำให้บางครั้งออโต้โฟกัสก็โฟกัสผิดจุด ภาพก็จะเบลอไป

2. ทำอย่างไรจึงจะถ่ายภาพได้คมชัด

เรามี 3 ข้อควรรู้ง่ายๆ มาให้ได้ศึกษากัน

F-Stop (รูรับแสง) 

คือ ค่าของรูรับแสง หน้าที่ของรูรับแสงคือกำหนดว่าแสงจะผ่านมาได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง ซึ่งรูรับแสงที่กว้าง ระยะโฟกัสจะน้อยลงทำให้ฉากหลังนั้นเบลอ เพราะหลุดออกจากระยะชัด หรือ Depth of field ส่วนรูรับแสงที่แคบนั้น จะส่งผลให้การทำงานของระยะชัดมีเพิ่มขึ้น คือทั้งฉากของเราจะอยู่ในระยะโฟกัสทั้งหมด เหมาะในการถ่ายภาพแนวทิวทัศน์ครับ

Focal Length (ทางยาวโฟกัสของเลนส์)

การที่ฉากหลังเบลอหรือชัดนั้น นอกจากรูรับแสงแล้ว ทางยาวโฟกัสนั้นก็มีผลควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน  อย่างเช่น หากเราต้องการภาพมุมกว้างและทุกส่วนของฉากนั้นอยู่จุดโฟกัส จะต้องใช้ระยะเลนส์ที่มีค่าน้อยๆ เช่น 14 มม. 15 มม. 24 มม. เพื่อจะเก็บภาพได้ทั้งหมด โดยเลนส์ที่มีค่าน้อยเรามักจะเรียกว่าเลนส์มุมกว้างครับ

Distance (ระยะห่างของวัตถุจากตัวเลนส์) 

ในข้อนี้อธิบายได้ง่ายๆเลย คือ ถ้าเราต้องการให้ฉากเบลอมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะห่างของวัตถุกับตัวเลนส์ ถ้าวัตถุอยู่ใกล้กับเลนส์ ฉากหลังก็จะละลายหรือว่าเบลอไป แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่วัตถุอยู่ใกล้กับฉากหลังหรือมีระยะห่างจากตัวเลนส์พอสมควรจะทำให้ระยะชัดของภาพนั้นมีมากขึ้น คือทุกส่วนของภาพจะถูกโฟกัส ภาพก็ชัดทั้งภาพนั่นเองครับ

เมื่อเราเข้าใจการทำงานของทั้งสามสิ่งนี้แล้ว อยากให้ลองฝึกฝนและปรับใช้ให้กับงานของเราให้ได้มากที่สุด

3. ทำภาพให้ชัดทั้งภาพด้วย Focus stacking 

ภาพที่เราเห็นโดยทั้วไป จะผ่านกระบวนการทำภาพ และการถ่ายภาพโดยใช้ Focus stacking คือการนำภาพชุดมาซ้อนกัน โดยภาพถ่ายถูกถ่ายให้ชัดเป็นส่วน ๆ เช่น การถ่ายด้านหน้าชัด ส่วนกลางชัด และส่วนหลังชัดและปรับแต่งในโปรแกรม photoshop เพื่อเก็บรายละเอียดของระยะชัดแต่ละภาพ ถือว่าเป็นทริคที่น่าสนใจมาก ๆ เลยทีเดียว 

หวังว่าแนวทางการใช้ระบบโฟกัสนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่หลายๆคน อย่าลืมว่าการถ่ายภาพที่สนุกคือการลองผิดลองถูก ฝึกฝน ค้นหาสไตล์ในแบบของเราเอง ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพครับ

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

อ่านบทความสำหรับมือใหม่

Exit mobile version