Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

4 พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับมือใหม่

4 พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับมือใหม่ เราจะสร้างความน่าสนใจให้กับภาพของเราได้อย่างไรและทำอย่างไรที่จะถ่ายภาพออกมาได้สวยงาม ซึ่งเทคนิคเหล่านี้แทบจะไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเพียงต้องฝึกฝนและถ่ายภาพให้เป็นประจำ เทคนิคเหล่านี้จะช่วยสร้างความรู้ขั้นพื้นฐานเพื่อที่เราจะเข้าใจได้ว่า เมื่อไหร่ที่เราควรจะดึงเทคนิคเหล่านี้มาใช้ครับ เช่นสมมติว่าเราต้องทำโจทย์การถ่ายภาพทิวทัศน์เราจะต้องถ่ายออกมาอย่างไร และต้องมีเทคนิคอะไรบ้าง วันนี้เรามาลองแบบง่าย ๆ ด้วย 4 เทคนิคพื้นฐานการวางกรอบภาพและจัดองค์ประกอบภาพสำหรับมือใหม่กันก่อนครับ

4 พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับมือใหม่

1. การใช้กฎสามส่วนเพื่อแบ่งสัดส่วนภาพ

สิ่งแรกที่เราควรรู้เมื่อเราใช้ฟังก์ชั่นนี้ ต้องตั้งค่าให้มีช่องสี่เหลี่ยมเก้าช่องปรากฎขึ้นที่หน้าจอแสดงผลของเรา โดยเราจะเห็นว่าจะเส้นแนวนอนสองเส้นขนานกัน เส้นนั้นเรียกว่า เส้นแนวนอน และเส้นแนวตั้งที่ขนานกันสองเส้น เรียกว่า เส้นแนวตั้ง

ซึ่งเส้นเหล่านี้เป็นตัวช่วยที่จะมองไปยังจุดโฟกัสของภาพ เช่น ถ้าเราถ่ายภาพประภาคารหรืออาคารบ้านเรือน ให้เราวางวัตถุให้ตรงกับช่องจุดตัดระหว่างแนวนอนและแนวตั้งทางด้านขวามือและเว้นพื้นที่ที่เหลือทางด้านซ้าย เพื่อให้วัตถุรองอื่นๆมาปรากฎในฉากเดียวกัน เพื่อจะช่วยสร้างเรื่องราวให้น่าสนใจมากขึ้น 

ต่อมาถ้าเราถ่ายรูปภาพแนววิวทิวทัศน์ อย่าพยายามให้เส้นท้องฟ้าและเส้นพื้นดินมารวมกันอยู่ตรงกลาง แต่ให้เราจัดวางโดยให้อยู่เหนือหรืออยู่ใต้เส้นแนวนอนไปเลย ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายถาพท้องฟ้าหรือพื้นดิน จะทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้น 

2. เส้นนำสายตาดึงสายตาให้มองเข้ามาที่ภาพ

เทคนิคนี้จะต้องใช้วัตถุที่มีอยู่ในฉากนั้นๆ ช่วยในการนำสายตาของเราให้โฟกัสไปที่แบบ เช่น เราสามารถใช้ทางเดินเป็นเส้นนำสายตาที่ผู้ชมจะมองไปยังวัตถุหลักที่อยู่ตรงกลาง บางครั้งไม่จำเป็นเลยว่าเส้นนำสายตานั้นจะต้องเป็นเส้นตรงอย่างเดียว สามารถเป็นเส้นโค้งก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบข้างเราครับ ลองสังเกต และมองหาเส้นนำสายตาในทุกที่ครับมองบ่อย ๆ แล้วจะหาได้ไม่ยากครับ

3. การสร้างบาลานซ์ให้วัตถุ

เทคนิคก็ตรงตามชื่อเลยครับ การสร้างบาลานซ์ให้วัตถุเราง่ายที่สุดคือต้องวางวัตถุให้อยู่ตรงกลางของฉากอย่างสวยงามหลักการณ์นี้ยังใช้กับงานถ่ายวิดีโอเช่นกัน เวลาถ่ายทำสารคดี สัมภาษณ์บุคคลด้วยครับ ซึ่งถ้าคล่องแล้ว เราจะเริ่มการบาลานซ์ภาพในลักษณะอื่นกันต่อครับ แต่เอาง่าย ๆ แค่วางตรงกลางภาพก่อนก็ได้ครับ

3. การสร้างกรอบภาพซ้อนกัน

การสร้างกรอบภาพซ้อนกัน เราจะใช้สิ่งที่ปรากฎอยู่หน้าฉากของเราเพื่อสร้างจุดโฟกัสให้ภาพถ่าย วิธีนี้อาจจะยาก เพราะบางครั้งเราไม่รู้ว่าเราจะเจอกับอะไรบ้างในสถานที่ที่เราไป แต่ให้พยายามมองหาสิ่งที่จะสามารถสร้างกรอบภาพที่ซ้อนกันระหว่างวัตถุกับสภาพแวดล้อมจริง ซึ่งกรอบภาพอาจจะเกิดจากในธรรมชาติ หรือว่าสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก็ได้เช่นกันครับ

ทั้ง 4 เทคนิคเหล่านี้ เมื่อเราปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง มันจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับการถ่ายภาพได้ดีเลยครับ ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

อ่านบทความสำหรับมือใหม่

Exit mobile version