Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

5 เทคนิคถ่ายภาพตัวเเบบที่เคลื่อนไหวเร็ว สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดเริ่มถ่ายภาพ

5 เทคนิคถ่ายภาพตัวเเบบที่เคลื่อนไหวเร็ว สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดเริ่มถ่ายภาพ การถ่ายภาพตัวเเบบที่เคลื่อนไหวเร็ว อาจจะกำลังนึกถึงการถ่ายภาพเเนวกีฬาซะส่วนใหญ่ เเต่จริง ๆ เเล้วตัวเเบบที่เคลื่อนไหวเร็ว ได้รวมไปถึงการถ่ายภาพ Portriat โดยที่ตัวเเบบอยู่ไม่นิ่ง

การโพสท่าทางที่ถูกต้องแสดงให้เห็นถึงการขยับ หรือเคลื่อนที่ การถ่ายภาพเด็ก การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง ภาพสัตว์ นก หรือการถ่ายภาพเพื่อให้เห็นเอฟเฟกต์การถ่ายภาพเเบบ long exposure ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าช่างภาพต้องการจะให้ภาพที่ได้แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวหรือถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง เพื่อจับจังหวะที่น่าประทับใจนั้น

5 เทคนิคสำหรับมือใหม่ถ่ายภาพตัวเเบบที่เคลื่อนไหวเร็ว

1. เลนส์ที่ใช้เลือกที่มีระบบโฟกัสที่เเม่นยำ รวดเร็ว มีระบบติดตามดวงตา ใบหน้าด้วยยิ่งดี

เลนส์ที่ใช้ควรจะเป็นเลนส์ที่มีประสิทธิภาพการโฟกัสที่เเม่นยำ โดยมีมอเตอร์ที่หมุนเเละปรับโฟกัสได้รวดเร็ว ทำงานเข้ากับระบบออโต้โฟกัสของกล้องได้อย่างพอดี เลนส์เเบบมือหมุนอาจจะยังไม่ค่อยตอบโจทย์สำหรับมือใหม่เท่าไหร่ เเต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ไม่ได้นะ เเต่ต้องมีทักษะในการปรับหมุนโฟกัสตามตัวเเบบมาบ้างเเล้วเท่านั้นเอง

ซึ่งระยะของเลนส์ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของช่างภาพว่าต้องซูมใกล้ ซูมชัดมากแค่ไหน เพราะการถ่ายภาพกีฬา สัตว์ป่า ถ่ายภาพนก จะต้องใช้เลนส์ที่มะระยะพิเศษที่ไม่เหมือนกับการถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง หรือเด็ก ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบโฟกัสมากกว่า

2. รูรับเเสงไม่ต้องเปิดกว้างมาก เเคบหน่อยเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด

การเปิดรูรับเเสงกว้างก็มีข้อจำกัดในการถ่ายภาพเช่นกัน เช่นเลนส์บางตัว เปิดรูรับเเสงได้กว้างถึง F1.4 เเต่การเปิดรูรับเเสงกว้างที่สุด เสี่ยงต่อการถ่ายภาพเเล้วเบลอ ถ้าหากตัวเเบบขยับ หรือเคลื่อนที่เร็ว เเละแสงอาจจะ over exposed ทำให้รายละเอียดของภาพเสียไป ดังนั้นการถ่ายภาพตัวเเบบที่เคลื่อนไหวเร็วแนะนำว่าต้องใช้รูรับเเสงที่เเคบลงมาเช่น f3.5 – f5.6 เพื่อภาพที่คมชัด

3. ความเร็วชัตเตอร์ปรับให้ตรงตามลักษณะภาพที่ต้องการ

การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เพื่อให้จับจังหวะการเคลื่อนไหวได้ทัน โดยปกติเเล้ว ถ้าอยากจะหยุดภาพก็จะต้องตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เร็ว เพื่อจับการเคลื่อนไหว โดยความเร็วคร่าว ๆ ที่ใช้ส่วนมากจะดูจากระยะเลนส์ที่ใช้ เช่นเลนส์ระยะ 50 mm ความเร็วชัตเตอร์ก็ไม่ควรจะมากกว่า 1/50 หรือถ้าจะใช้เลนส์ 85 mm ก็ใช้ 1/100 เผื่อไปเลยก็ได้ แต่ถ้าหากวัตถุยิ่งเคลื่อนที่เร็ว เราก็ยิ่งควรจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้สูงมากขึ้น เช่น การถ่ายภาพกีฬาอาจจะต้อง 1/800 เลยเป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Shutter Speed แบบเจาะลึก สำหรับมือใหม่

ในทางกลับกันถ้าต้องการถ่ายภาพเพื่อให้เห็นการเคลื่อนไหว ก็จะต้องตั้งค่าอีกเเบบ โดยตั้งค่าให้ความเร็วชัตเตอร์นานขึ้น ให้ตำ่กว่าระยะของเลนส์นั่นเอง อาจจะตั้งให้ยาวมากขึ้นยาวไปจนถึง 10 วินาที 

4. โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องของกล้องและระบบออโต้โฟกัสที่รวดเร็ว 

โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องของกล้องเเละระบบออโต้โฟกัสจะช่วยให้การถ่ายภาพง่ายขึ้น ถ้าระบบออโต้โฟกัสทำงานได้รวดเร็วจับบตัวเเบบแม่นยำ ก็จะช่วยให้ช่างภาพได้ภาพที่คมชัดเเละไม่หลุดเบลอ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพเเนวกีฬา เเนวแอคชั่น หรือภาพ Portriat ก็สามารถที่จะเลือกใช้ออโต้โฟกัสเพื่อให้จับที่ตัวเเบบ พร้อมกับโหมดถ่ายต่อเนื่อง ก็จะทำให้ได้ภาพที่ต้องการ 

5. วางให้ตัวแบบอยู่ตรงกลางภาพเพื่อง่ายต่อการจัดองค์ประกอบภาพ

เพื่อภาพที่คมชัดการวางตำเเหน่งเพื่อให้กล้องทำงานง่ายที่สุดสามารถเลือกวางให้ตัวเเบบอยู่ตรงกลางภาพ ซึ่งช่างภาพก็ไม่ต้องเดาเรื่องทิศทางการเคลื่อนที่ เพราะตัวเเบบที่เคลื่อนที่เร็วอาจจะเคลื่อนไหวเเบบไร้ทิศทาง เช่นเด็กเเละสัตว์เลี้ยงและยังช่วยให้จัดการกับองค์ประกอบภาพได้ง่ายอีกด้วย  

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

รวมบทความพื้นฐานสำหรับมือใหม่

Exit mobile version