Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 วิธีตั้งค่ากล้องถ่ายภาพบุคคล ภายนอกตัวอาคาร และการฝึกให้เก่งขึ้น

7 วิธีตั้งค่ากล้องถ่ายภาพบุคคล ภายนอกตัวอาคารและการฝึกให้เก่งขึ้น สำหรับผู้ที่เริ่มถ่ายภาพบุคคล อาจจะเริ่มง่าย ๆ ด้วยการลองจัดองค์ประกอบ การวางภาพ การหามุมมอง โดยให้โหมดถ่ายภาพเเบบออโต้ และเลนส์กล้องเดิม ๆ ติดมาให้

เมื่อคิดว่าคล่องขึ้นในการจัดองค์ประกอบเเล้ว อาจจะอยากลองเริ่มถ่ายภาพเพื่อเพิ่มมุมมองใหม่ หรือการใช้เลนส์ที่ให้ความแตกต่างในภาพได้มากขึ้นก็ได้ ซึ่งในวันนี้มีวิธีเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากให้ได้ลองเรียนรู้กันครับ

สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ
180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ให้เริ่มต้นได้ง่าย และเลือกอ่านได้สะดวก

7 วิธีตั้งค่ากล้องถ่ายภาพบุคคล ภายนอกตัวอาคาร และการฝึกให้เก่งขึ้น

1. ตั้งค่าความไวเเสง (ISO) ให้ต่ำที่สุด

การตั้งค่าความไวแสง (ISO) โดยส่วนมากจะถูกตั้งอยู่ค่าน้อยที่สุดเมื่อถ่ายภาพกับเเสงธรรมชาติ ซึ่งกล้องถ่ายภาพส่วนมากจะปรับได้ที่ ISO 100 การตั้งค่า ISO ให้ต่ำที่สุด ก็เพื่อลด noise ที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง

Photography cheat sheet. Camera’s manual. ISO, shutter speed, aperture, frame frequency. Vector illustration.

2. ตั้งค่ารูรับเเสง (Aperture) ประมาณ f/1.4 – f/2.0 (ขึ้นอยู่กับภาพที่อยากจะได้และศักยภาพของเลนส์)

การตั้งค่ารูรับเเสง (Aperture) ขึ้นอยู่กับว่า อยากจะได้ภาพเเบบไหน เเบบหน้าชัดหลังเบลอ หรือความชัดเท่ากันทั้งภาพ โดยปกติ ถ้าถ่ายภาพบุคคล จะนิยมใช้รูรับเเสงที่กว้าง เพื่อให้ได้ภาพตัวเเบบที่ชัดเเต่พื้นหลังละลายไป โดยปกติจะตั้งค่าอยู่ที่ f/1.4 – f/2.0 ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้ ว่าจะมีค่ารูรับเเสงกว้างมากที่สุดเท่าไหร่นั่นเอง 

3. ค่าความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) ประมาณ 1/200

เมื่อตั้งค่า ISO เเละรูรับเเสงเเล้ว อีกค่าหนึ่งที่ให้ความสำคัญไม่เเพ้กันคือค่าความเร็วชัตเตอร์ โดยสามารถวัดค่าที่เหมาะสม โดยการทดสอบถ่ายภาพ เเละดูที่กราฟฮิสโตเเกรม (Histogram) เพื่อดูว่าภาพไม่สว่าง หรือมืดมากเกินไป กฎทั่วไปคือการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์สองเท่าของความยาวโฟกัสของเลนส์เช่นหากใช้เลนส์ขนาด 100 มิลลิเมตร ดังนั้นค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดที่จะใช้ได้คือ 1/200  เเต่ก็มีข้อยกเว้น ถ้าหากใช้ขาตั้งกล้อง หรือกล้องมีกันสั่นในตัวก็จะช่วยให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่น้อยลงกว่านี้ได้ 

4. สังเกตเเสงธรรมชาติ 

สิ่งที่ต้องคิดในการถ่ายภาพ outdoor ในเเสงธรรมชาติคือ การถ่ายภาพช่วงเเสงที่ง่ายที่สุด เเละผลลัพท์ออกมาดีที่สุดคือช่วงดวงอาทิตย์ขึ้น และช่วงที่เเสงอาทิตย์อ่อนเเรงก่อนจะตก นอกจากจะให้เเสงที่อ่อน ไม่จัดมากเเล้ว สีของเเสง ก็ยังเเต่งเติมให้ภาพดูมีเสน่ห์และสวยงามมากอีกด้วย 

5. มีความคิดเเละไอเดียที่จะสร้างสรรค์ภาพถ่าย 

หลังจากที่ตั้งค่าได้เเล้ว การลองถ่ายภาพ เเละสร้างสรรค์ภาพจากเทคนิคต่าง ๆ เช่น การ ถ่ายเเบบ long exposure หรือการถ่ายภาพบุคคลที่ระยะของเลนส์เเตกต่างกัน การจัดมุมกล้อง เเละการลองใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ก็เป็นเรื่องที่เเนะนำให้ผู้เริ่มถ่ายภาพได้ลองศึกษา เช่น การใช้เเฟลช การใช้ไฟเสริม การใช้ขาตั้งกล้อง

อุปกรณ์เสริมเหล่านี้ ก็จะช่วยให้ได้ภาพที่มีคุณภาพ เเละทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้เพื่อนำเสนอด้วย

6. อย่าลืมโฟกัสที่ดวงตา

กฏเหล็กของการถ่ายภาพบุคคลคือ การโฟกัสที่ดวงตา เพราะดวงตาเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของภาพบุคคลและเป็นองค์ประกอบที่คมชัดที่สุดบนใบหน้า เเละช่วยดังอารมณ์จากตัวเเบบผ่านทางดวงตา ทั้งยังช่วยดึงความสนใจเข้าสู่ตัวเเบบด้วยเช่นกัน

7. ถ่ายภาพด้วยไฟล์ RAW เพื่อช่วยในกระบวนการ Post – processing

หลังจากถ่ายภาพมาเเล้ว แน่นอนว่าบางภาพจะต้องมาทำการปรับเเต่งเพื่อให้ได้ภาพผลลัพท์ที่เหมือนอย่างที่ตั้งใจ ทั้งการปรับสี เเต่งเเสง ปรับความคมชัด ดังนั้นการถ่ายภาพไฟล์ RAW จะช่วยให้การทำงานหลังกล้องจบได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

RAW vs JPEG ต่างกันยังไง ข้อดี-ข้อเสีย และการนำไปใช้งานจริง

รวมบทความถ่ายภาพ LANDSCAPE เบื้องต้นสำหรับมือใหม่

source : https://digital-photography-school.com/

Exit mobile version