Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 วิธีการจัดองค์ประกอบภาพ ด้วยการถ่ายภาพแบบเต็มเฟรมสำหรับมือใหม่

7 วิธีการจัดองค์ประกอบภาพ ด้วยการถ่ายภาพแบบเต็มเฟรมสำหรับมือใหม่ วิธีการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูสวยงาม น่าสนใจทำได้หลายวิธี ทั้งยังมีเทคนิคการถ่ายภาพเพื่อช่วยให้ได้ภาพที่สวยขึ้นด้วย ซึ่งวิธีการเติมเฟรมหรือการถ่ายภาพแบบเต็มเฟรมก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นกันทั้งยังใช้ในการแก้ไขภาพได้อีกด้วยเราลองมาดูกันเลยดีกว่าว่า 7 วิธีการจัดองค์ประกอบภาพด้วยการถ่ายภาพแบบเต็มเฟรมสำหรับมือใหม่ มีวิธีการอย่างไรบ้าง

7 วิธีการจัดองค์ประกอบภาพ ด้วยการถ่ายภาพแบบเต็มเฟรมสำหรับมือใหม่

1. เลือกตัวแบบหรือจุดสนใจของภาพก่อนเป็นอันดับแรก

สิ่งที่จะต้องทำเป็นอันดับแรกคือการเลือกตัวแบบหรือจุดสนใจของภาพ ในการถ่ายภาพ Portrait จุดสนใจแน่นอนคือตัวแบบที่เป็นบุคคลแต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพ Landscape อาจจะต้องเลือกจุดสนใจให้ได้ก่อนว่าต้องการจะให้จุดไหนหรืออะไรที่ต้องการให้ทุกคนมุ่งความสนใจไปยังจุดนั้น

2. พื้นหลังเลือกให้เล่าเรื่องก็ได้หรือจะเลือกเพื่อให้ตัวแบบเด่นก็ได้เช่นกัน

พื้นหลังมีความสำคัญมากเช่นกันในการจัดองค์ประกอบภาพ เพราะถ้าพื้นหลังมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดมากจะตึงความสนใจและสมาธิจะมุ่งไปที่พื้นหลังแทน พื้นหลังจึงไม่ควรซับซ้อนมาก อาจจะมีรายละเอียดพอที่จะเล่าเรื่องได้ หรือพื้นหลังที่โล่งหรือเบลอไป เพราะกำหนดให้จุดสนใจเป็นตัวหลักของภาพโดยไม่มีสิ่งใดรบกวนหรือดึงความสนใจออกไป 

3. ใช้พื้นที่ว่างในการเติมเฟรม 

การใช้พื้นที่ว่างก็เป็นการถ่ายภาพแบบเต็มเพรมได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเราจะเรียกการใช้พื้นที่ว่างในการจัดองค์ประกอบว่าเป็นการจัดองค์ประกอบด้วย Negative space โดยการจัดให้เต็มเฟรมด้วยวิธีกานี้ ก็จะช่วยให้ตัวแบบโดดเด่นขึ้นได้ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการกำหนดความสนใจไปที่ตัวแบบได้โดยตรง 

4. ปรับขนาดภาพ เพื่อให้เหมาะกับองค์ประกอบภาพโดยรวม 

ขนาดภาพก็ช่วยให้องค์ประกอบต่าง ๆ ในภาพถูกจัดเรียงได้อย่างลงตัวเช่นกัน การกำหนดขนาดภาพก่อนจะทำให้รู้ว่าจะต้องเติมเฟรมอย่างไรบ้าง เช่นขนาด 1:1 หรือ 16:9 ก็จะมีการจัดวางองค์ประกอบที่ต่างกัน 

5. ขยับเข้าใกล้ตัวแบบให้มากขึ้น

ขยับเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้น เพื่อถ่ายภาพได้อย่างเต็มเฟรมส่วนมากการถ่ายภาพแบบนี้มักจะใช้กับการถ่ายภาพธรรมชาติหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ต้องเข้าใกล้ เพื่อให้เห็นรายละเอียดที่ชัดมากขึ้นนั่นเองครับ 

6. เลือกใช้เลนส์ซูมหรือการถ่ายภาพโดยใช้เลนส์เทเลโฟโต้

การเลือกใช้เลนส์ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกันการใช้เลนส์ซูมหรือเลนส์เทเลโฟโต้เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยจำกัดมุมมองของภาพลง เพราะได้ภาพที่มุมแคบลงสามารถเจาะจงตัวแบบได้อย่างชัดเจน ทั้งยังให้รายละเอียดภาพที่คมชัดสวยงามอีกด้วย 

7. ใช้กฏสามส่วนในการเลือกตัดภาพออกมาในกรณีที่ต้องการแก้ไขภาพ

เมื่อถ่ายภาพมาแล้วอาจจะเป็นมุมกว้างหรือถ่ายภาพมาแล้วพบว่าองค์ประกอบบางอย่างดูไม่ได้เป็นอย่างที่ต้องการ การเลือกบางจุดหรือบางส่วนของภาพแล้วดึงออกมาก็ช่วยให้ได้ภาพที่สวย เล่าเรื่องได้ดีด้วยเช่นกัน ซึ่งการจะดึงภาพหรือครอปภาพออกมานั้นสามารถใช้กฏสามส่วนเพื่อช่วยจัดองค์ประกอบภาพก่อนที่จะตัดภาพออกมา ก็จะช่วยให้ได้ภาพที่เต็มเฟรมมีองค์ประกอบที่พอดีและเล่าเรื่องได้อย่างที่ต้องการ  

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

มีบทความเพิ่มเติมและไอเดียถ่ายภาพ PORTRAIT ให้อ่านอีกเยอะเลย

Exit mobile version