Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO รู้เรื่องนี้ ถ่ายโหมด M ได้แน่นอน!

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO เป็นเรื่องที่ค่าทั้ง 3 อย่างนี้มีความสัมพันธ์กัน และเมื่อเราเข้าใจ เราก็จะสามารถตั้งค่ากล้องเพื่อรับแสงได้อย่างถูกต้องตรงตามความต้องการ ทีนี้ใครที่จะถ่ายโหมด M ด้วยตัวเองให้ได้ ก็ต้องเข้าใจเรื่องนี้เหมือนกันครับ

Exposure Triangle คืออะไรกันแน่

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO

ให้เข้าใจง่าย ๆ แบบนี้คือ Exposure Triangle เป็น 3 ค่าที่มีผลกับแสงในภาพของเรานั่นคือ รูรับแสง (Aperture), ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) และ ความไวแสง (ISO) สามค่านี้มันทำงานด้วยกัน หากมีค่าใดค่าหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไป ส่วนอื่น ๆ ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปด้วยเพื่อรักษาความถูกต้องของแสงที่จะเข้ามา ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมากสำหรับคนที่จะถ่ายภาพ โดยเฉพาะคนที่ตั้งใจจะฝึกถ่ายภาพด้วยโหมด M ยังไงเรื่องนี้ก็มีความสำคัญมาก ๆ ซึ่งผมจะแจงตามรายละเอียดต่อไปนี้

อย่างที่ 1 : ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)

ความเร็วชัตเตอร์หรือ Shutter Speed คือระยะเวลาที่เราได้สั่งให้กล้องเปิดรับแสงเข้าเซ็นเซอร์ได้ ซึ่งหน่วยวัดเป็นวินาที ความเร็วชัตเตอร์เป็นเรื่องง่ายที่สุดละใน Exposure Triangle ทั้ง 3 ค่า ถ้าหากเราต้องการเปิดรับแสงให้นานขึ้น เราก็เปิดม่านชัตเตอร์นานหน่อย แต่ถ้าต้องการแสงเข้านิดเดียว ม่านชัตเตอร์ก็จะเร็วขึ้น

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO

ความเร็วชัตเตอร์วัดค่ายังไง!?

ความเร็วชัตเตอร์เราจะเรียกเป็นส่วนต่อวินาที เช่น 1/8000, 1/4000, 1/125 ส่วนการที่เราเปิดม่านชัตเตอร์นาน ๆ เราก็เรียกเป็นหลักวินาทีตามปกติ กล้องของเราถ้าต้องการเปิดม่านชัตเตอร์นาน ๆ แบบไม่ต้องใช้รีโมท เราก็จะเปิดได้ถึง 30 วินาทีเลย แล้วก็อย่างที่บอกตามข้างบน ถ้าหากว่าเราต้องการที่จะให้แสงเข้าเยอะ ๆ เราก็ต้องเปิดชัตเตอร์นาน ๆ แต่ถ้าต้องการให้แสงเข้าน้อย เราก็เปิดชัตเตอร์ให้เร็วหน่อยเท่านั้นเอง

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO

ยกตัวอย่างเมื่อเราใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 ไปเป็น 1/30 วินาที จะเป็นการเพิ่มแสง 1 สต็อป ก็เพราะชัตเตอร์เปิดรับแสงนานขึ้นเท่านึง แล้วถ้าเราจะเพิ่มความเร็วชัตเตอร์จาก 1 วินาที ไปเป็น 1/8 วินาที จะเป็นการเปิดรับแสงลดลง 3 สต็อป เพราะว่า จาก 1 วินาที ไปเป็น 1/2 วินาที(ครึ่งวิ) แล้วก็จาก 1/2 วินาที ไปเป็น 1/4 วินาที แล้วจาก 1/4 วินาที ไปเป็น 1/8 วินาที ดูตามภาพได้เลยนะครับ ก็จะสังเกตได้ว่ามันจะเป็นสามสต็อปพอดี

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO

การใช้ความเร็วชัตเตอร์มีวัตถุประสงค์สองอย่าง

1. เพื่อควบคุมปริมาณแสงที่เข้ามาในกล้อง ให้มากขึ้น หรือน้อยลง
2. เพื่อให้เกิดเอกเฟกต์กับภาพ ยิ่งชัตเตอร์เร็ว จะหยุดสิ่งที่เคลื่อนไหวได้นิ่งสนิท ยิ่งชัตเตอร์ช้า ก็จะทำให้ภาพเกิดการสั่นไหวและเบลอง่ายขึ้น สามารถเอาไปใช้ถ่ายเทคนิควาดเส้นไฟสวย ๆ ได้

แล้วเราควรจะใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่ดีล่ะ?

ในความเป็นจริงเราไม่มีคำตอบแน่นอนหรอกว่าชัตเตอร์เท่าไหร่ ถ่ายอะไร (แบบเป๊ะ ๆ) แต่ผมมีตัวอย่างคร่าว ๆ มาให้ว่าส่วนใหญ่แต่ละชัตเตอร์เหมาะกับการถ่ายภาพอะไรบ้าง แต่ในการถ่ายจริงเราก็ต้องปรับให้ได้ตามสภาพแสงจริงอยู่ดีนะ

ความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ลักษณะของภาพที่นำไปใช้
30 วินาที/ โหมด Blubสร้างภาพถ่าย Long Exposure รับแสงที่ยาวนาน ทำให้น้ำดูฟุ้ง ๆ เมฆดูนุ่มนวล และมองเห็นการเคลื่อนไหวของวัตถุเป็นเส้น ๆ เลย ซึ่งถ้าถ่ายด้วยโหมด Blub จะลากได้ตามใจเลยว่าอยากได้นานเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็ 2-4 นาทีเลยแหละ
20-30 sec.ถ่ายภาพทางช้างเผือกก็ถ่ายได้นะ หรือถ่ายภาพดาวหมุนก็ได้ แต่มักจะเอาภาพมาต่อ ๆ กันด้วย
1 sec.ถ่ายภาพช่วง Twilight ทำให้เก็บแสงได้นานขึ้น
1/8-1/10 sec.ความเร็วชัตเตอร์แบบนี้เหมาะกับการถ่ายภาพเพื่อเก็บความเคลื่อนไหวของคลื่นที่เคลื่อนตัวออกจากหาด จะเห็นมูฟเมนต์หน่อย ๆ
1/30 – 1/60 sec.มีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพ Panning เพื่อจับภาพคน หรืออะไรที่เคลื่อนไหว แล้วใช้การ Panning เพื่อเบลอฉากหลัง
1/125 sec.ถ่ายภาพได้หลากหลายลักษณะ ส่วนใหญ่ถ่ายทั่วไปก็ประมาณนี้ครับ
1/250 sec.ถ่ายภาพทั่วไปเหมือนกัน แต่ก็จะจับภาพการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นมาหน่อยเมื่อเทียบกับ 1/125 ส่วนใหญ่ก็ต้องดูปริมาณแสงที่ใช้ด้วยครับ
1/500 sec.ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วมาก ๆ พวกรถก็ได้
Above 1/1000 sec.ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วมาก ๆ พวกรถก็ได้
Above 1/2000 sec.ถ่ายภาพนก หรือวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก ๆ

ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่ถึงจะถือด้วยมือได้แบบไม่ต้องใช้ขาตั้ง?

เรื่องง่าย ๆ คือควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่าทางยาวโฟกัส เช่นใช้ทางยาวโฟกัสที่ 200mm เราก็ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/200 แต่ถ้ามีกันสั่นในกล้องหรือเลนส์ก็สามารถที่จะใช้ต่ำกว่านี้ได้ ซึ่งก็แล้วแต่ความสามารถของกันสั่นในตัวกล้องครับ

อ่านบทความเจาะลึกที่ต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องของความเร็วชัตเตอร์

อย่างที่ 2 : รูรับแสง

รูรับแสงหมายถึงขนาดของช่องกลม ๆ ข้างในเลนส์ของเราที่ให้แสงผ่านนั่นแหละ ยิ่งรูมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแสงผ่านเข้าไปในเซ็นเซอร์ได้มากขึ้นเท่านั้น โดยรูรับแสงยิ่งกว้าง ค่า F จะน้อย และรูรับแสงยิ่งแคบ ค่า F จะเพิ่มขึ้นครับ

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO

ค่ารูรับแสงมีผลกับภาพเราสองอย่าง นั่นคือระยะชัด และปริมาณแสงที่เข้ามาในกล้อง

ด้านล่างจะเป็นการแสดงให้เห็นภาพอยู่สองอย่างก็คือ เมื่อ F หรือค่ารูรับแสงเยอะ ช่องของรูรับแสงก็จะแคบลง ระยะชัดของภาพก็จะมีมากขึ้น เราจะได้ภาพชัดทั้งภาพเลย แน่นอนว่าปริมาณแสงก็จะเข้ามาน้อยด้วย

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO

แล้วก็ถ้าหากว่าเราใช้รูรับแสงกว้างขึ้น ก็จะทำให้ F ตัวเลขน้อยลง ปริมาณแสงจะเข้ามาเยอะขึ้น และเกิดเอฟเฟกต์แบบชัดตื้น คือหน้าชัดหลังเบลอง่ายขึ้นนั่นเอง เพราะระยะชัดมันลดลง

ในภาพด้านล่างเราจะเห็นว่าความคมชัดจะมีทั้งภาพเลยในภาพด้านล่างผมถ่ายด้วยรูรับแสงแคบ ๆ ก็จะทำให้เกิดระยะชัดทั้งภาพครับ

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO

ทีนี้ถ้าเราใช้รูรับแสงที่กว้างขึ้นก็สามารถทำให้เกิดเอฟเฟกต์หลังละลายได้ และปริมาณแสงก็เข้ามาเยอะขึ้นด้วยครับ

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO

สำหรับคนที่อยากเจาะลึกเรื่องรูรับแสงทั้งหมด อ่านเพิ่มได้ในรวมพื้นฐานทุกอย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับรูรับแสง

อย่างที่ 3 : ISO ค่าความไวแสง คืออะไร มีผลยังไงกับภาพ

อันนี้เรื่องพื้นฐานง่าย ๆ เลยคือ ค่า ISO เป็นค่าความไวแสงของตัวกล้องนั่นแหละ ถ้าค่านี้น้อย ภาพก็จะมืด แต่ถ้าค่านี้เยอะ ภาพก็จะสว่างขึ้น ในปริมาณแสงเท่าเดิม เพียงแต่การเร่งสัญญาณการรับแสงของกล้องมันสูงขึ้น ซึ่งมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียตามมาอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้ครับ

ISO ที่เยอะขึ้น มันก็ทำให้ภาพของเรามีความสว่างมากขึ้นก็จริง แต่มันจะเกิด Noise ตามมาด้วย ทำให้ภาพของเรามีความละเอียดลดลง เม็ดสีที่เคยสวย ก็จะดูแย่ลง ดังนั้นการใช้ ISO ก็ควรจะดูความเหมาะสมด้วยว่าควรใช้เท่าไหร่

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO

แล้วควรเพิ่ม ISO เมื่อไหร่บ้าง?

เมื่อเราต้องการความเร็วชัตเตอร์ที่เพียงพอกับแสงตอนนั้น คือไม่สามารถลดความเร็วชัตเตอร์ได้ละ แล้วรูรับแสงก็เปิดกว้างตามที่ต้องการแล้ว แต่แสงยังน้อยอยู่ก็ให้เพิ่ม ISO เพื่อเก็บภาพตามต้องการได้เลย ถ้าเราทำทุกวิถีทางแล้วภาพยังมืด ก็ดัน ISO เถอะ ต่อให้มี Noise บ้าง แต่เราก็ได้ภาพถ่ายกลับมานะ

Exposure Triangle พื้นฐานการตั้งค่า Aperture, Shutter Speed, ISO

อ่านบทความเจาะลึกเรื่องของ ISO ที่มือใหม่ต้องรู้

สุดท้ายคือการนำทุกอย่างมาใช้งานร่วมกัน โดยมีคีย์หลักตามนี้

1. การใช้รูรับแสงกว้าง แสงจะเข้ากล้องเยอะ และจะเกิดความชัดตื้นมากขึ้น ช่วยให้แยกวัตถุออกจากฉากหลังได้ และโบเก้สวย
2. เมื่อถ่ายภาพควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ = ทางยาวโฟกัส เพื่อไม่ให้ภาพเบลอ (ถ้ากล้องที่มีกันสั่นในตัวจะลดความเร็วชัตเตอร์ได้ต่ำกว่าปกติอยู่หน่อยฉ
3. Shutter Speed ที่แตกต่างกัน ช่วยให้เกิดลักษณะของภาพที่ต่างกัน ความเร็วชัตเตอร์สูงจะหยุดภาพได้นิ่งแต่แสงเข้ากล้องน้อย ถ้าความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แสงเข้ากล้องเยอะ แต่ก็มีข้อจำกัดคือต้องใช้ขาตั้งกล้อง สายลั่นเป็นต้น
4. ถ่ายภาพให้ใช้ ISO ต่ำที่สุดเพื่อเลี่ยง Noise แต่ถ้าจำเป็นต้องเพิ่ม ก็เพิ่มเถอะครับ

อ่านบทความสำหรับมือใหม่


– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M
– โหมด P A S M แตกต่างกันอย่างไร และควรใช้โหมดไหน

Exit mobile version