Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

RAW vs JPEG เลือกไฟล์อะไรดี และพื้นฐานที่มือใหม่ต้องรู้ก่อนที่จะเลือกไฟล์สำหรับถ่ายภาพ

RAW vs JPEG เลือกไฟล์อะไรดี และพื้นฐานที่มือใหม่ต้องรู้ก่อนที่จะเลือกไฟล์สำหรับถ่ายภาพ 5 ประเด็นพื้นฐานที่มือใหม่หลายคนมีคำถามเข้ามาเกี่ยวกับไฟล์ภาพระหว่างไฟล์ RAW และ JPEG ว่าไฟล์ไหนดีกว่ากัน แล้วการเลือก 2 ไฟล์นี้เราควรที่จะเลือกแบบไหนดี มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรที่จะรู้อะไรบ้าง

RAW vs JPEG เลือกไฟล์อะไรดี และพื้นฐานที่มือใหม่ต้องรู้ก่อนที่จะเลือกไฟล์สำหรับถ่ายภาพ

1.จุดแตกต่างระหว่าง RAW และ JPEG

เริ่มจากไฟล์ RAW เลยคือไฟล์ RAW จะเป็นไฟล์ที่เอาไว้ใช้สำหรับการแต่งภาพได้ดีขึ้นเหมาะกับคนที่ทำงานการถ่ายภาพโดยเฉพาะ ยิ่งถ้าเราถ่ายภาพมาเสียหรือถ่ายภาพมามืดไปสว่างไป ไฟล์ RAW นี้ละจะช่วยให้เราแต่งภาพได้ดีขึ้น สวยมากขึ้น ส่วนไฟล์ JPEG นั้นจะเป็นไฟล์ที่ถูกออกแบบเพื่อให้เราเอาภาพไปใช้ได้เลย ยกตัวอย่างเช่นเราถ่ายภาพจากมือถือจะลง Facebook ก็สามารถทำได้เลย เนื่องจากไฟล์ JPEG เป็นไฟล์ที่พร้อมใช้งานได้เลยนั้นเอง 

2. ข้อดีและข้อเสียของ RAW file มีอะไรบ้าง 

ข้อดีของไฟล์ RAW นั้นคือไฟล์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เราสามารถแต่งภาพได้เยอะ เพราะฉะนั้นถ้าเราถ่ายภาพออกมาเพื่อต้องการแก้สี หรือแต่งให้ได้สีอย่างที่เราต้องการ ไฟล์ RAW จะเป็นไฟล์ที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาแต่งภาพ และเป็นไฟล์ที่จะช่วยให้เราสามารถแก้ภาพเวลาที่เราถ่ายภาพออกมาแล้วพลาด ไฟล์ RAW ช่วยเราได้เยอะมาก 

ข้อเสียของไฟล์ RAW นั้นคือไฟล์ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้เราสามารถใช้งานมันได้เลย มันต้องทำงานผ่านโปรแกรมบ้างอย่าง เพื่อให้เราแต่งภาพออกมาแล้วได้เป็นไฟล์ JPEG อีกที และไฟล์ RAW นั้นจะมีขนาดใหญ่มาก จะใหญ่กว่าไฟล์ JPEG ประมาน 3-4 เท่าได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราถ่ายภาพไฟล์ RAW เมมโมรี่ของเราก็ต้องสามารถบรรจุข้อมูลได้เยอะด้วย เพื่อให้เราสามารถทำงานกับไฟล์ RAW ได้ดีขึ้น

3.ข้อดีและข้อเสียของ JPEG, JPG file ว่ามีอะไรบ้าง

ข้อดีของไฟล์ JPEG นั้นคือไฟล์ JPEG ถูกออกแบบมาเพื่อให้พร้อมสำหรับการใช้งานได้เลย โดยที่ไฟล์ JPEG นั้นมีขนาดเล็กมาก เราสามารถถ่ายได้หลายร้อยรูปได้โดยที่เมมโมรี่ไม่เต็ม และตัวไฟล์ JPEG นั้นสามารถใช้ในแพลตฟอร์มไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการลง Facebook การส่ง Email หรือกระทั่งการลงในคลิปวิดิโอก็ตาม

ข้อเสียของไฟล์ JPEG นั้นคือไฟล์ JPEG ไม่ได้มีความยืดหยุ่นมากพอเมื่อเทียบกับไฟล์ RAW เพราะฉะนั้นถ้าเราถ่ายภาพด้วยไฟล์ JPEG มา แล้วคาดหวังจะนำมาแต่งภาพให้ได้เยอะๆ เหมือนไฟล์ RAW มันจึงเป็นไปไม่ได้ เราจึงต้องเข้าใจก่อนว่าไฟล์ JPEG ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้ง่าย เร็ว และสะดวก เราพร้อมที่จะอัพโหลดได้เลย สำหรับการแต่งภาพ เราอาจจะแต่งภาพได้ระดับหนึ่งเท่านั้น จะไม่เท่ากับไฟล์ RAW 

4. ควรเลือกไฟล์อะไรดี ระหว่าง RAW และ JPEG  

ซึ่งเราก่อนอื่นเลย เราต้องมาดูวัตถุประสงค์ของเราก่อน เพราะกล้องถ่ายภาพถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนเราอยู่ละ แต่เราต้องรู้ก่อนว่างานของเรานั้นเป็นแบบไหน ยกตัวอย่างถ้าเราเป็นคนที่ต้องถ่ายภาพงานที่เป็นพิธีหรืออะไรก็ตามที่เป็นการเป็นงานแล้วไม่พลาดไม่ได้ แต่ถ้าพลาดมาแล้วต้องแก้ไขได้ เราควรจำเป็นที่ต้องถ่ายภาพเป็นไฟล์ RAW ไปเลย แต่ถ้าหากเราถ่ายภาพเล่นกับเพื่อน ถ่ายสนุกๆ ไม่ได้จำเป็นที่ต้องเอาไปแต่งเยอะ ไม่ต้องแก้ไขภาพหนักๆ อะไร ไฟล์ JPEG ก็จะสะดวกมากกว่า เพราะฉะนั้นเราไม่ควรจะเลือกไฟล์จากประสิทธิภาพของไฟล์ แต่เราควรที่จะเลือกไฟล์ที่จะใช้จากวัตถุประสงค์ของเรามากกว่า

5. ถ้าเลือกไม่ได้ ลองใช้ RAW+JPEG พร้อมกันไปเลย

ซึ่งเราสามารถไปตั้งค่าที่กล้องเพื่อให้ได้ไฟล์ภาพทั้ง 2 แบบพร้อมกันเลยในการถ่ายภาพครั้งเดียว แต่มันก็แอบมีข้อเสียนะ เพราะมันจะกินพื้นที่ในเมมโมรี่เราเยอะ แต่ข้อดีก็คือว่าถ้าเราอยากจะได้ไฟล์ JPEG ไปใช้เลยก็ได้ หรือถ้าเราอยากจะลองแต่งภาพก็มีไฟล์ RAW ให้เราได้ลองแต่งภาพ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้มือใหม่เข้าใจทั้ง 2 ไฟล์นี้มากขึ้น เพราะเราจะได้ลองสัมผัสไฟล์ภาพทั้ง 2 แบบ เต็มๆ เลย แล้วเมื่อไรที่เราเข้าใจแล้ว เราค่อยเลือกก็ได้ว่าเราจะเลือกถ่ายไฟล์ RAW หรือ JPEG ดี

สรุป

ไฟล์ RAW และ JPEG นั้นมันดีทั้งคู่นะ แค่มันดีคนละอย่างเท่านั้นเอง ไฟล์ RAW มันดีกับการที่เราภาพไปแต่งที่หลังได้เยอะกว่า ได้ละเอียดกว่า แต่ข้อเสียก็คือไฟล์มันค่อนข้างใหญ่ และไม่ได้พร้อมใช้งานทันที เราต้องนำมาแต่งก่อน ส่วนไฟล์ JPEG มีข้อดีคือมีขนาดเล็กและพร้อมใช้งานได้ทันที แต่ข้อเสียคือ เราไม่สามารถแต่งภาพจากไฟล์ JPEG ได้เยอะ เหมือนกับไฟล์ RAW เพราะฉะนั้นสำหรับการใช้งานคือเราต้องถามกับตัวเองก่อนว่าเราต้องการไฟล์ลักษณะไหนไปใช้งาน แต่ถ้าเรายังไม่รู้ก็ใช้ทั้ง   ไฟล์ไปก่อนก็ได้ ถ้าวันไหนที่เราตอบตัวเองได้แล้ว ค่อยเลือกอีกทีหนึ่งก็ได้

กฏ เคล็ดลับ เเละ เทคนิคการถ่ายภาพในรูปแบบต่าง ๆ

Exit mobile version