Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 เเบบฝึกหัดสำหรับช่างภาพมือใหม่ ในการฝึกและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

10 เเบบฝึกหัดสำหรับช่างภาพมือใหม่ ในการฝึกและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ บางครั้งเมื่อถ่ายภาพมาระยะหนึ่ง กลับมีความรู้สึกว่า ไม่รู้จะถ่ายอะไรดี รู้สึกตัน ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ดูน่าสนใจ หรือเเตกต่างออกมาได้ ที่หนักเลยคือไม่อยากจะถ่ายภาพอีก ดูเหมือนว่าไม่มีทางออก แต่แบบฝึกหัดการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ 10 วิธีนี้ จะช่วยฝึกฝน และทำให้มีเเรงผลักดัน กลับมาถ่ายภาพอีกได้ 

10 เเบบฝึกหัดสำหรับช่างภาพมือใหม่ ในการฝึกและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

1. ฝึกถ่ายภาพขาวดำ

กล้องในปัจจุบันส่วนมากมีตัวเลือกการตั้งค่าเป็นเเบบขาวดำ ซึ่งการฝึกถ่ายภาพขาวดำ จะช่วยให้สมองมองภาพที่เเตกต่างออกไป จะมองภาพโดยไม่มีสีสันเข้ามาดึงความสนใจ มีเพียงจุดสว่างเเละมืดเท่านั้น ดังนั้นจึงสามารถพุ่งความสนใจไปที่การจัดองค์ประกอบภาพได้มากขึ้น

2. ฝึกถ่ายภาพด้วยเลนส์ฟิกซ์ (เลนส์ที่มีระยะเดียว)

ช่างภาพที่มีประสบการณ์หลายคนบอกว่า ควรใช้เลนส์ฟิกซ์ในการถ่ายภาพ เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณภาพของภาพเเละมุมมองของภาพดีเเล้ว ยังช่วยให้ตั้งค่า ปรับรูรับเเสงได้เร็วขึ้น อีกอย่างนึงคือ การที่ต้องเดินหามุม เดินเข้าเเละออก เพื่อให้ได้องค์ประกอบภาพที่ต้องการ จะเป็นการช่วยฝึกให้สร้างสรรค์ภาพ และมีการเปลี่ยนมุมมองเมื่อมีการเดินเข้า ขยับออกในระหว่างการถ่ายภาพด้วย เเต่ถ้าไม่มีเลนส์ฟิกซ์ ก็ปรับเลนส์ให้เป็นระยะเดียวเท่านั้น เเละพยายามอย่าซูมเข้าหรือออกเท่านั้นเอง 

3. เลือกปรับค่ารูรับเเสงเพียงค่าเดียว 

ปรับค่า F ตามที่ต้องการ เเล้วลองถ่ายภาพ ดูว่าภาพที่ออกมามีลักษณะใด ได้ภาพที่น่าสนใจหรือไม่ ก็เป็นการดีที่จะได้ลองปรับองค์ประกอบใหม่ การใช้ความชัดลึกชัดตื้น ในการสร้างสรรค์ภาพ จะช่วยสร้างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่ดียิ่งขึ้น 

ถ้าเลือกที่จะปรับรูรับเเสงให้กว้าง ก็อาจจะต้องคิด เเละลองให้ negative space ในการสร้างสรรค์ภาพ เพราะตัวเเบบจะถูกเเยกออกจากพื้นหลังอย่างชัดเจน เเต่ถ้าเลือกที่จะใช้รูรับเเสงเเคบ ก็อาจจะไม่สามารถเเยกตัวเเบบออกมาชัดเจน ก็สามารถเลือกที่จะใช้ในการถ่ายภาพวิว หรือการปรับองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อสร้างให้ภาพดูน่าสนใจ อาจใช้สี หรือเเสงเข้ามาช่วยให้ภาพดูโดดเด่นขึ้นได้ 

4. ฝึกปรับความเร็วชัตเตอร์

การจำกัดการใช้งานเพียงเเค่ใช้ความเร็วชัตเตอร์เพียงค่าเดียว จะช่วยให้ฝึกการใช้การเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่ในภาพให้เป็นประโยชน์ เช่น อาจจะลองใช้ long exposure เพื่อสร้างภาพที่น่าสนใจได้ ทั้งยังเป็นความท้าทายของตัวช่างภาพเองด้วย 

ถ้าเลือกความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ก็สามารถจับ เเละหยุดการเคลื่อนไหวของภาพได้ เช่นภาพคนเล่นกีฬา หรือคนที่กระโดดสูง โดยหยุดตัวเเบบค้างไว้บนท้องฟ้า อาจจะต้องคิดเผื่อด้วยว่า การเคลื่อนที่ของตัวเเบบจะไปในทิศทางไหน เเละจะหยุดตัวเเบบจังหวะไหนได้บ้าง เพื่อจะได้ภาพที่น่าสนใจ

เเต่ถ้าใช้ ความเร็วชัตเตอร์สูง ก็จะเห็นเเสงลากยาว เเละเส้นสายของการเคลื่อนที่ของวัตถุ ก็จะเป็นการฝึกถ่ายภาพอย่างหนึ่ง ที่น่าสนใจและให้ภาพที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจด้วยเช่นกัน 

5. จำกัดจำนวนของภาพที่ถ่าย 

ลองจินตนาการภาพ เเละคิดวางเเผนให้ชัดเจนก่อนที่จะกดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ โดยคิดว่า ทุกอย่างต้องสมบูรณ์ที่สุด ทั้งตัวเเบบ เเสง การจัดเฟรมภาพ องค์ประกอบต่าง ๆ ถามตัวเองทุกครั้งที่จะกดชัตเตอร์ว่า ภาพนี้ ดีพอหรือยัง

6. กำหนดว่าจะถ่ายภาพให้ได้มากที่สุดในเเต่ละวัน 

อาจจะขัดเเย้งจากข้อก่อนหน้า เเต่บางครั้งการฝึกฝน ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ ในบางโปรเจคถ่ายภาพ ก็ลองที่จะถ่ายภาพให้มากที่สุด ไม่ว่าจะร้อยภาพหรือพันภาพก็ตาม ให้ฝึกให้มากที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นภาพใดภาพหนึ่งในระหว่างการถ่ายภาพเป็นพัน ๆ จะเป็นภาพที่สร้างเเรงบันดาลใจ เเละเป็นภาพที่น่าประทับใจก็ได้ 

7. ถ่ายภาพจากระดับกลางลำตัว 

เทคนิคนี้จะใช้บ่อยถ้าเป็นช่างภาพสายสตรีท เพราะไม่ต้องการให้การหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายภาพ ทำลายอารมณ์เเละบรรยากาศของภาพในขณะนั้น  อาจจะต้องปรับให้ใช้รูรับเเสงที่เเคบ เพื่อจะได้ภาพเเบบกว้าง ๆ 

8. กำหนดขอบเขตให้ตัวเองว่า จะถ่ายภาพ เมื่อมีเเสงเพียงพอเท่านั้น

ฝึกใช้เเสงธรรมชาติ ไม่ใช้เเฟลช ไม่ใช้ตัวสะท้อนเเสง เเละสังเกตว่า เเสงธรรมชาติที่มี ทำปฏิกิริยากับตัวเเบบ เเละอารมณ์ของภาพอย่างไร ถ่ายภาพให้ได้หลากหลายมุมมอง ดูเเสงที่ตกกระทบ ดูการปรับเปลี่ยนของเเสงเเละเงา สมองจะได้วิเคราะห์ เเละเรียนรู้เกี่ยวกับองศาการตกกระทบของเเสงต่อตัวเเบบ ที่มีผลต่ออารมณ์ ซึ่งจะเป็นการฝึกฝนการเล่าเรื่องจากภาพด้วย

9. ถ่ายภาพให้ได้ 10 ภาพโดยไม่ขยับตำเเหน่ง 

เเน่นอนว่าการหาภาพที่ใช่ เป็นเรื่องที่ยากกว่าการถ่ายภาพอยู่เเล้ว  เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ลองไม่ขยับบตำเเหน่ง ใช้เลนส์ซูม หรือมีการปรับการตั้งค่ากล้อง เช่น ระยะทางยาวของเลนส์  รูรับเเสง ความเร็วชัตเตอร์

หลังจากกำหนดค่าต่าง ๆเเล้ว ก็ฝึกมอง เเละจัดองค์ประกอบ มุมมองภาพ การเล่าเรื่องของภาพ ลองให้โอกาสตัวเองได้ลองฝึกเพื่อจะสร้างสรรค์ภาพ ออกมา ไม่เเน่ว่า ในสิบภาพที่ถ่ายมานั้นอาจจะมีภาพที่น่าประทับใจ เเละโดดเด่นออกมาให้ชื่นใจเเน่นอน 

10. ลองดึงภาพเก่า มาดูการเล่าเรื่องใหม่ 

การฝึกฝน เเละประสบการร์ในการถ่ายภาพ จะช่วยให้การมองภาพ เเละมุมมองต่างไป ลองกลับเอารูแเก่า ๆมานั่งดู ลองดึงออกมา ปรับสี ปรับองค์ประกอบ เเละเล่าใหม่ ซึ่งอาจจะพบว่าภาพเก่าที่ถ่ายไว้นานเเล้ว ที่อาจจะยังไม่เคยถูกนำมาโชว์ กลายเป็นภาพที่น่าสนใจ เเละประหลาดใจได้ว่า เมื่อก่อนดีถ่ายดีเหมือนกันนะ 

นอกจากนี้ การนำภาพเก่ามาเล่าใหม่ เป็นการฝึกทักษะ post-processing เทคนิคใหม่ที่เรียนรู้มาในระยะเวลาที่ผ่านมา ก็อาจจะทำให้ภาพเดิม มีรสชาติเเละความรู้สึก อารมณ์เปลี่ยนไปหลังการเเต่งภาพได้ 

รวมบทความถ่ายภาพ PORTRAIT เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ ตั้งแต่ BASIC PHOTOGRAPHY และ PORTRAIT PHOTOGRAPHY แบบครบจบทุกหัวข้อ

source : digital photography school

Exit mobile version