Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 เทคนิคถ่ายภาพอาหารสำหรับมือใหม่ให้สวย ดึงดูดสายตา และน่าสนใจ

10 เทคนิคถ่ายภาพอาหารสำหรับมือใหม่ให้สวย ดึงดูดสายตา และน่าสนใจ ซึ่งจะช่วยให้ LifeStyle ในการใช้ชีวิตของเราสนุกมากขึ้น จริง ๆ ไม่จำเป็นว่าเราต้องถ่ายภาพให้เหมือนมืออาชีพอะไรขนาดนั้น แต่การที่เราถ่ายภาพได้สวยงามแล้ว Post ลง Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือว่า ​Instagram จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรามีความสุขและได้บอกเล่าถึงสไตล์ในการใช้ชีวิตของเรา ว่าเรามีความสุขในการทำสิ่งไหนบ้าง เราชอบที่จะบอกเล่าอะไรให้คนอื่นได้เห็น

10 เทคนิคถ่ายภาพอาหารให้ดูเป็นมืออาชีพ

ดังนั้นการถ่ายภาพอาหารให้ดูน่าทาน หรือถ่ายให้เกิดความน่าสนใจ ก็เป็นทักษะที่น่าเอามาฝึกฝนเป็นกิจกรรมยามว่างของเราตอนไปเที่ยวก็ได้นะ เผลอ ๆ ขายรูปได้ ยิ่งดีเข้าไปอีก ลองมาดูว่า 10 เทคนิคถ่ายภาพอาหารให้ดูเป็นมืออาชีพ มีอะไรบ้าง

10 เทคนิคถ่ายภาพอาหารสำหรับมือใหม่ให้สวย ดึงดูดสายตา และน่าสนใจ

1. ใช้ Gridline ในการจัดองค์ประกอบให้ภาพ

เรื่องที่เป็นพื้นฐานของการถ่ายภาพ คืออการจัดองค์ประกอบ ซึ่ง Rule of Thirds (ก็มีทั้ง Grid Line กฎสามส่วน จุดตัดเก้าช่อง) สามารถที่จะทำให้ภาพของเราดูลงตัวและน่าสนในมากขึ้น สิ่งสำคัญคือทำให้ภาพของกินที่เราถ่ายมาเล่าเรื่องได้ชัดเจน เน้นย้ำเนื้อหาในภาพได้เป็นอย่างดี

10 เทคนิคถ่ายภาพอาหารให้ดูเป็นมืออาชีพ

2. เลือกจุดโฟกัสให้ถูกต้อง และถ่ายภาพให้คมชัด

ปัจจุบันกล้องถ่ายรูปมีความสามารที่จะเลือกเเละกำหนดจุดโฟกัสได้อัตโนมัติ แต่เราก็สามารถกำหนดจุดโฟกัสเองได้ แต่สิ่งสำคัญคือโฟกัสในจุดที่เหมาะสม คือส่วนไหนของอาหารในภาพเราที่ควรคมชัดตรงไหน ก็ควรโฟกัสตรงนั้น เพื่อให้เล่าเรื่องได้ชัดเจนครับ

ส่วนการถ่ายภาพให้คมชัดนั้น เราก็ต้องดูตั้งแต่รูรับแสง ว่า ​F กว้างไปหรือเปล่า บางครั้งการถ่ายภาพแบบละลายหลังเยอะ ๆ โดยใช้รูรับแสงกว้างมาก ๆ ก็อาจจะทำให้ระยะชัดของภาพนั้นไม่ครอบคลุมทั้งรูปอาหารของเราก็ได้ อาจจะต้องลองปรับรูรับแสงให้แคบลง

นอกจากนี้ควรดูความเร็วชัตเตอร์ที่จะสามารถทำให้ภาพเราหยุดนิ่งได้สวย ส่วนอันสุดท้ายก็ ISO ดูว่า ISO เยอะไปไหม ถ้า ISO เยอะก็ทำให้ noise เยอะขึ้น อาจจะทำให้ภาพอาหารของเราไม่มีรายละเอียดตามที่ต้องการก็ได้

3. พยายามบอกเล่าในภาพว่าอาหารนั้น มีจุดเด่นตรงไหน ส่วนไหนที่น่าทาน ไม่ว่าจะเป็น สีสัน ความหรูหรา สไตล์ของอาหาร

อาหารแต่ละอย่างนั้นจะมีจุดสนใจที่แตกต่างกันออกไป บางอย่างเป็นขนมที่ดูน่าทาน และสีสันเป็นตัวดึงความสนใจของคนที่ดู เราก็ต้องเน้นเรื่องสีสันในการถ่ายทอดเรื่องราวของอาหารนั้น ๆ หรือไม่ก็อาจจะเป็นสไตล์ของอาหาร ความหรูหรา สิ่งสำคัญที่ต้องดูรอบ ๆ ก็จะเป็นพวกภาชนะที่ใส่ โทนของภาพ ก็จะช่วยเติมเต็มรายละเอียดตรงนั้นให้สื่อสารได้ชัดเจนมากขึ้น

4. ลองใช้ negative space หรือการถ่ายภาพให้มีพื้นที่ว่างบ้าง ไม่ต้องอัดแน่นทุกอย่างจนเต็มเฟรมตลอดก็ได้

หากใครที่สามารถใช้เทคนิคนี้อย่างคล่องเเล้วล่ะก็ ภาพที่ได้จากที่ดีอยู่เเล้วก็จะเข้าขั้นดีมากได้ง่าย ๆ คือการที่ทำให้ภาพ มีช่องว่างขึ้นมา โดยปกติ ก็อาจจะเว้นพื้นที่ของโต๊ะอาหารกับจานผลไม้ หรือ จานอาหาร แก้ว หรือขวดไวน์ ที่วางอยู่บนโต๊ะ เพื่อให้พื้นที่ว่างนั้นสร้างความน่าสนใจให้กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้

5. เลือกมุมมองถ่ายภาพในหลาย ๆ ระดับ และมีพร็อพเสริมเพื่อขยายเรื่องราวของอาหารนั้น (แต่ตอนไปเที่ยวอาจจะไม่ขนาดนั้นก็ได้)

การเลือกมุมมองที่ใช้ในการถ่ายภาพร่วมกับระยะถ่ายภาพที่หลากหลายมากขึ้น จะทำให้การเล่าเรื่องราวของอาหารในภาพได้มากขึ้นตามไปด้วย ลองนึกถึงในตอนที่เราถ่ายภาพ Portrait เราก็จะเลือกถ่ายภาพระยะสายตาบ้าง หรือจะเลือกมุมกดบ้าง เพื่อให้ได้ความน่าสนใจ

ในการถ่ายภาพอาหารเราก็สามารถใช้ไอเดียนี้มาเล่าเรื่องในตัวอาหารได้เหมือนกัน เราอาจจะถ่ายในระยะเลนส์ที่แคบลง (ซูมเข้าใกล้มากขึ้น) เพื่อให้ได้มิติของภาพที่เน้นไปยังตัวอาหาร และพร็อบในการที่จะเสริมเรื่องราวของอาหารนั้นก็ได้ แต่การถ่ายไปเที่ยวเราอาจจะไม่จำเป็นต้องทำขนาดนั้นก็ได้ เพราะดูจะวุ่นวายไปหน่อย แต่ถ้าใครชอบถ่ายภาพอาหารเป็นงานอดิเรกแล้วอยากจะไปให้สุด แนะนำว่าลองดูได้นะ

รวมบทความพื้นฐานสำหรับมือใหม่

6. ดูภาพรวมของเรื่องราวในภาพด้วย บางครั้งเราอาจจะถ่ายภาพเพื่อเล่าไลฟ์สไตล์ของเรา ไม่ใช่แค่อาหารเพียงอย่างเดียว

ถ้าจากที่ดูต้นบทความหลายคนอาจจะคิดว่า การถ่ายภาพอาหารก็ต้องมีแค่อาหารเท่านั้น จริง ๆ ไม่ใช่ว่าต้องขนาดนั้น ผมอยยากให้เราเล่าเรื่องของชีวิตเรามากกว่า ว่าอาหารนี้น่ากินยังไง หรือเราชอบที่จะทานอาหารที่ไหน คาแรคเตอร์อาหารเป็นยังไง ที่ร้านเป็นยังไง แล้วเรารู้สึกยังไง

เราอาจจะใส่ภาพคนลงไปในอาหารด้วยก็ได้ หรือว่าจะเล่าสไตล์โดยรอบของเราก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องเจาะแค่ที่อาหารเพียงอย่างเดียว

7. ใช้เเสงธรรมชาติ

ไม่ได้หมายถึงว่า ต้องถือเอาอาหารจานนั้นออกไปนอกร้านอาหารเพื่อถ่ายกับเเสงธรรมชาติ เเต่หมายถึงในบางครั้งการถ่ายภาพอาหารนั้น เราใช้เเสงที่อยูในร้านอาหารนั่นเเหละ ไม่ต้องใช้เเฟลช ยิ่งถ้าร้านที่เค้าตกเเต่งอย่างดี แสงสว่างเหมาะสมเเล้ว การถ่ายภาพโดยไม่ใช้เเฟลช เป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ โดยเฉพาะในปัจจุบัน มือถือได้พัฒนาให้มีระบบอัจฉริยะในการชดเชยเเสงให้ จึงไม่ต้องกังวลว่าจะถ่ายออกมาเเล้วมืด

8. ใช้ขาตั้งขนาดเล็กเพื่อถ่ายภาพในที่แสงน้อย (ลดความเร็วชัตเตอร์ลงเพื่อเพิ่มแสงแทน ISO)

จริง ๆ เเล้วการมีขาตั้งกล้องเล็ก ๆ เอาไว้ซักอัน ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยาก เเละสะดวกสำหรับการถ่ายภาพ โดยไม่ต้องจับกล้องอยู่นิ่งๆเอง อีกทั้งถ่ายภาพตัวเองกับอาหารได้อีก โดยไม่ต้องเห็นว่ามีเเขนเราจับมือถืออยู่ เหมือนภาพ selfie ทั่วไป, นอกจากนี้ในร้านอาหารบางร้านที่แสงน้อย ๆ อาจจะทำให้เราต้องเพิ่ม ISO ที่สูงขึ้น แต่เราสามารถที่จะใช้ขาตั้งเพื่อลดการสั่นไหวและลดความเร็วชัตเตอร์ลงเพื่อให้แสงเข้ากล้องได้มากขึ้น แทนที่การเพิ่ม ISO ก็ได้นะ

9. ลองใช้เลนส์หลากหลายแบบ เพื่อเพิ่มลักษณะของภาพ หรือ Character ของภาพให้มากขึ้น

ในการถ่ายภาพโดยใช้เลนส์ที่เเตกต่างกัน ก็จะได้อารมณ์ของภาพที่เเตกต่างกันไป อาจจะลองถ่ายภาพอาหารด้วยเลนส์ระยะ Normal หรือจะเป็นเลนส์ Macro ก็ได้ (ถ้าหากว่าชอบอ่ะนะ)

แต่จริง ๆ บางทีตอนเที่ยวเราอาจจะถ่ายภาพด้วยมุมกว้าง ๆ เพื่อเล่าเรื่องราวด้วยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีแค่ภาพอาหารหรอก ภาพคนที่อยู่ในนั้นก็สร้างความน่าสนใจให้กับเรื่องราวทั้งหมดของเราก็ได้เหมือนกัน

10. แต่งภาพบ้าง ใช้ฟิลเตอร์สวย ๆ ก็ได้ ทำให้ภาพสวยได้มากขึ้น ก็ทำให้เราสนุกกับการถ่ายรูปได้มากขึ้น ไม่ต้องกลัวที่จะปรับหรือแต่งภาพหรอก

การแต่งภาพเวลาที่ถ่ายรูป ทำให้ภาพของเราดูน่าสนใจมากขึ้น แล้วเดี๋ยวนี้ก็มี Preset สีมากมายให้เราได้เลือกใช้ โดยเฉพาะมือถือ ปัจจุบันมี application ให้เลือกเเต่งภาพสวย ๆ มากมาย มี filter ให้เลือกหลายลักษณะ แต่ละอันก็จะทำให้ภาพมีความรู้สึกเเตกต่างกันออกไป เลือกใช้ซักอัน หรืออาจจะใช้โปรเเกรมเเต่งภาพหลาย ๆ อัน ก็เเล้วเเต่จะลองใช้กันเลย

เราไม่ต้อง No Filter กันทุกครั้งก็ได้ครับ เพียงแต่ว่าควรเลือกสีสันของ preset ให้เหมาะกับภาพถ่ายของเราก็พอ

รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ


Exit mobile version