Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

10 เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพให้ดูโปร

10 เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพให้ดูโปร การจัดวางองค์ประกอบเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องอาศัยความเป็นศิลปิน เเละศาสตร์เเห่งการจัดวางเข้าด้วยกัน จริง ๆเเล้วไม่มีกฏตายตัวว่าจะต้องวางอย่างไร เพียงเเต่มีกฏพื้นฐานเพื่อช่วยให้มือใหม่เริ่มต้น ได้มีแนวความคิดพื้นฐานในการมองภาพอย่างเป็นสัดส่วนนั่นเอง อีกทั้งยังช่วยเรื่องการมองภาพด้วยว่าถ้าจัดวางตามหลักของทฤษฎีการจัดวางเเล้ว ภาพที่ได้จะเป็นอย่างไร เเละมีจุดไหน ที่มือใหม่ต้องใช้ความระมัดระวังในการจัดวาง

10 เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพให้ดูโปร

1.กฏสามส่วน (Rule of Thirds)

จะไม่พูดถึงกฏนี้เลยก็คงจะไม่ได้ เพราะเป็นกฏพื้นฐานที่คนที่เริ่มถ่ายภาพต้องรู้เลยล่ะ และยังเป็นกฏที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการจัดองค์ประกอบภาพและยังคงใช้ได้ดีด้วย

ภาพจะถูกเเบ่งออกเป็น 9 ช่อง โดยเกิดจากเส้นเเนวนอนสองเส้นที่ขนานกันเเละเเนวตั้งสองเส้นที่ขนานกัน เกิดจุดตัดสี่จุดในภาพ เเละจุดตัด 4 จุดนี่เอง เป็นจุดที่สายตาจะให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงใช้บริเวณจุดตัดนั้น เป็นจุดที่วางตัวเเบบ

มือใหม่อาจจะลองวางตามจุดต่าง ๆ หรือส่วนที่เเยกออกมาเช่น วางตัวเเบบไว้ที่ 1 ใน 3 ส่วนของภาพ หรือลองวางตรงช่องกลางเพื่อฝึกการวางเพื่อให้ภาพเกิดสมดุลก็ได้ ลองฝึกวางตัวเเบบไว้ที่จุดต่าง ๆ เเล้วมองภาพ ดูผลลัพท์ที่ได้ ก็จะช่วยให้พัฒนาการจัดองค์ประกอบภาพได้เร็วขึ้น

2. การจัดเเบบสมดุลสมมาตร

การวางวัตถุอยู่ตรงกลางภาพ โดยให้ความรู้สึกของสองฝั่งถ่วงน้ำหนักเท่ากัน อาจจะคิดว่าเป็นภาพที่น่าเบื่อ เเต่อย่าลืมไปว่า พื้นหลัง วัตถุที่นำมาเป็นองค์ประกอบ สถาปัตยกรรม พื้นผิว หรือสีสันที่ถูกนำมาใช้ ก็เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ภาพ ดูโดดเด่น เเละดึงดูดสายตาได้ด้วยนะ

3. การสร้างเลเยอร์ให้กับภาพ

การที่ภาพมีระยะชัดที่เเตกต่างกัน มีจุดโฟกัสที่ชัด มีบางจุดที่เบลอ จะทำให้ความรู้สึกของผู้มองภาพรู้สึกคล้ายกับของจริง มีมิติ มีชีวิตชีวา ก่อนที่จะถ่ายภาพ ลองจินตนาการว่า จะให้จุดไหนทำหน้าที่เป็นฉากหน้า ฉากกลาง เเละพื้นหลัง เพราะเมื่อภาพประกอบด้วยเลเยอร์เหล่านี้เเล้ว จะช่วยให้ภาพดูมีระยะ ตื้น ลึก ดูมีมิติขึ้นด้วย

4. การจัดวางเฟรมให้ภาพ

เทคนิคนี้เป็นการจัดวางเพื่อให้จุดโฟกัสของผู้ชมอยู่ในจุดที่ช่างภาพต้องการให้โฟกัสไปยังจุดนั้น โดยการสร้างกรอบให้ภาพ อาจจะใช้โครงสร้างสภาปัตยกรรม หรือธรรมชาติก็ได้ โดยการตีกรอบให้ภาพ จะช่วยกรอบความคิดให้เเคบลง วางมุมมองให้คนดูมองในจุดที่วางไว้ เป็นการกำหนดจุดวางสายตานั่นเองครับ

5. ดึงความสนใจไปที่จุดโฟกัส ด้วยการใช้เส้นนำสายตา

เส้นที่วางในภาพ จะช่วยดึงสายตาของผู้มองเข้าไปในจุดสนใจที่วางไว้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงก็ได้เส้นโค้งก็เป็นเส้นนำสายตาได้นะ เเต่สิ่งที่ต้องระวังคือถ้าเส้นนั้นนำสายตาออกไปนอกเฟรม นั่นหมายถึงว่า เราใช้เส้นนำสายตาผิดจุดประสงค์เเล้วล่ะ

6. วางแนวเส้นขอบฟ้า

บางครั้งการวางเเบบเอียง ๆ ก็สร้างภาพที่น่าสนใจได้ เเต่ถ้าหากว่า เเต่ในบางภาพ ถ้าเอียงเเล้ว รู้สึกฝืนธรรมชาติ ก็เเนะนำให้วางตามเเนวเส้นขอบฟ้าดีกว่า เช่น ภาพของดวงอาทิตย์ตกที่เส้นขอบฟ้า หรือเรือที่กำลังเล่นอยู่กลางทะเล

การดูเส้นขอบฟ้า นอกจากจะช่วยให้ภาพดูไม่เอียงเเล้ว ยังช่วยจัดความสมดุลให้กับภาพได้ด้วย ซึ่งความรู็สึกสมดุล เป็นความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์ ถ้าเป็นว่าไม่สมดุล หรือเอียง จะทำให้รู้สึกอยากเเก้ไข เกิดความไม่สบายใจขึ้นได้ ดังนั้นพยายามมองเส้นขอบฟ้า ให้ขนานกับพื้นไว้ก่อน เพื่อให้ภาพที่ได้ ไม่กระตุ้นความรู้สึกที่ไม่ดีต่อภาพออกมา

7. การจัดวางให้เกิดพื้นที่ว่าง (Negative space)

การจัดองค์ประกอบเเบบให้มีพื้นที่ว่าง อาจจะดูเเปลกสำหรับบางคน เพราะอาจจะดูโล่งเกินไป เเต่มันก็คือการจัดองค์ประกอบอีกเเบบหนึ่งที่น่าจะต้องรู้ไว้ โดยวัตถุ หรือตัวเเบบอาจจะอยู่จุดใดจุดหนึ่ง โดยอยู่ในสัดส่วน 1 ต่อ 3 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยช่างภาพบางคน ใช้สัดส่วน 1 ต่อ 4 ก็มีให้เห็นเหมือนกันครับ

8. ใช้เเสงเเละเงา

เราก็เคยได้ยินกันบ่อย ๆอยู่เเล้วว่า การจัดวางองค์ประกอบที่ดี ต้องเข้าใจเเสงด้วย ในทางตรงกันข้ามกับเเสง ก็คือ เงา ซึ่งเงาก็ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจ เเละเงาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยให้ภาพดูโดดเด่นขึ้นได้ ไม่ว่าจะเงาที่เกิดจากเเสงในธรรมชาติ หรือเงาที่เกิดจากเเสงสังเคราะห์ก็ตาม ลองใช้เงาพาดลงบนพื้นผิวที่เเตกต่างกัน เงาก็จะสร้าง pattern ที่เเตกต่างกันด้วย

9. สร้างให้เกิดความรู้สึกตื้นลึกของภาพ

การทำให้พื้นหลังเบลอไป โดยเลือกที่จะตั้งค่ารูรับเเสง หรือการเลือกใช้เลนส์ที่ช่วยละลายพื้นหลัง โดยให้ผู้ชมได้ความรู้สึกถึงระยะที่แตกต่างกันของวัตถุ เเละพื้นหลัง โดยพื้นที่ที่ถูกเบลอไป จะช่วยให้ตัวเเบบเด่นขึ้น และลดการรบกวนที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากพื้นหลังมีบางจุดที่สามารถดึงความสนใจออกจากตัวเเบบออกไปได้

10. ศึกษาเรื่องการใช้สีเพื่อจัดองค์ประกอบ

สีค่อนข้างจะมีอิทธิพลต่อภาพด้วยเช่นกัน การใส่ใจกับการใช้โทนสีในภาพจึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ เช่นโทนสีเย็น ฟ้า น้ำเงิน ม่วง เขียว มีแนวโน้มที่จะให้บรรยากาศที่เงียบสงบ สบายใจ สบายตา และอารมณ์แปรปรวนในบบางครั้ง ขณะที่โทนสีที่อบอุ่น เช่น สีเเดง เหลือง ส้ม ชมพู นั้นมีพลังและน่าหลงใหลมากกว่า ดังนั้นภาพที่ต้องการจะสื่อ พร้อมกับอารมณ์เเละความหมาย สามารถกำหนดได้จากการใช้สีในการจัดองค์ประกอบภาพด้วยเช่นกัน

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพบุคคลสำหรับมือใหม่

source : https://www.canva.com

Exit mobile version