Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

11 วิธีที่ทำให้ถ่ายภาพ Landscape ได้สวยงาม และมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

11 วิธีที่ทำให้ถ่ายภาพ Landscape ได้สวยงาม และมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งการถ่ายภาพ Landscape นั้นมักทำให้เราเรียนรู้และเข้าใจสถานที่ สภาพแสง ธรรมชาติ การเตรียมตัว และการให้ความสำคัญกับเวลามากกว่าที่เราคิด ในวันนี้เราจะไปทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่จะทำให้ภาพถ่ายแนว Landscape ของเราสวยมากยิ่งขึ้น

สำหรับคนที่เพิ่งถ่ายรูป แนะนำอ่าน 180 บทความสอนถ่ายภาพมือใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนโปรด้วยนะ

11 วิธีที่ทำให้ถ่ายภาพ Landscape ได้สวยงาม และมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

1. การเข้าใจสภาพเเสงธรรมชาติ

เเสงเป็นปัจจัยหลักในการถ่ายภาพ และสำคัญมากสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ในธรรมชาติ ในโดยเเสงเเต่ละช่วงจะให้ความเเตกต่างกันด้านสี เเละความรู้สึกของภาพ ถ้าลองศึกษาจากภาพถ่ายของช่างภาพมืออาชีพ หรือภาพบนนิตยสารท่องเที่ยว จะเป็นว่าภาพที่สวย ซึ่งหัวใจสำคัญก็ขึ้นอยู่กับเเสงของธรรมชาติ

ปกติช่วงที่ถ่ายภาพทิวทัศน์ได้สวยที่สุดคือ ช่วงเช้า เเละช่วงเย็น (จริง ๆ เรื่องนี้พูดหลายคนเทนต์มาก)  โดยจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น รุ่งเช้า หลังพระอาทิตย์ขึ้นสักพัก เเละช่วงเย็น ก่อนพระอาทิตย์จะตก  หรือที่รู้จักกันในชื่อ Golden hour เนื่องจากสีทองที่เป็นประกายจากแสงของดวงอาทิตย์นั่นเอง เเละหลังจากที่ดวงอาทิตย์พ้นของฟ้าไปเเล้ว ก็จะเป็นช่วงเวลา Blue hour ซึ่งก็เป็นอีกช่วงเเสงที่ถ่ายภาพทิวทัศน์ออกมาได้สวยมาก ช่วงเเสงกลางวัน ดวงอาทิตย์ไม่ค่อยมีผลต่อการถ่ายภาพทิวทัศน์ เเต่ก็สามารถถ่ายภาพให้ดูสวยได้ เพียงเเต่ต้องเข้าใจสภาพเเสง ในเเต่ละช่วงเวลา ต้องรู้จักสถานที่ และรู้จังหวะการถ่ายภาพ ในช่วงเเสงนั้น

2. ศึกษาและเตรียมตัวเรื่องสภาวะอากาศ

สภาวะอากาศมีอิทธิพลต่อการถ่ายรูปกลางเเจ้งเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนเเปลงของสภาวะอากาศ ก็มีผลกระทบต่อการถ่ายภาพเช่นกัน  เช่น เดินทางเพื่อจะออกไปถ่ายงานข้างนอก ฝนตก หรือฟ้าครึ้ม ดังนั้นจึงต้องวางเเผนก่อนที่จะออกไปถ่ายภาพทิวทัศน์ ดูพยากรณ์อากาศ ซักหน่อยเพื่อจะได้เตรียมอุปกรณ์การถ่ายภาพได้ถูก ว่าต้องเพิ่ม หรือมีอุปรณ์พิเศษอะไรไปด้วยบ้าง

3. ใช้เวลากับสถานที่นั้น ๆ ให้มากขึ้น

เมื่อถึงสถานที่ที่ต้องการจะถ่ายภาพ บางคนรีบถ่าย เเละก็รีบย้ายที่ เเต่การที่จะได้ภาพที่สมบูรณ์เเบบได้นั้น ต้องใช้เวลาให้คุ้นเคยกับสถานที่ เพื่อดูมุม หามุมมอง จัดองค์ประกอบ เดินไปรอบ ๆ เพื่อหามุมที่ไม่ซ้ำกับคนอื่น การถ่ายภาพโดยใช้ขาตั้งกล้อง เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เคลื่อนที่ได้ช้าลง และจดจ่อกับการถ่ายภาพมากขึ้น

4. จัดแนวเส้นขอบฟ้าให้ตรงและการใช้ขาตั้งกล้อง

การใช้ขาตั้งกล้องในการถ่ายภาพ มีข้อดีหลายประการ ได้ภาพที่คมชัด ไม่สั่นไหว ยิ่งการถ่ายวิวที่ต้องใช้ Long Exposure ต้องมีขาตั้งกล้องเพื่อลดความสั่นไหวของตัวกล้อง อีกทั้งทำให้วัดระดับเส้นขอบฟ้าได้ การจัดให้ภาพได้ระดับ ทำได้โดยการเปิด Grid lines ขึ้นมาก็ได้ เเต่ถ้าเกิดถ่ายภาพออกมาเเล้ว เเต่มาเห็นความผิดพลาดทีหลัง ก็แก้ได้โดยใช้ Lightroom หรือ Photoshop (เเต่ก็อยากจะให้เป็นทางเลือกสุดท้าย เเนะนำให้พยายามจบที่กล้องดีกว่า)

บทความสำหรับมือใหม่เกี่ยวกับการตั้งค่าโหมดต่าง ๆ

5. ถ่ายภาพเเนวตั้งบ้าง

ภาพ Landscape ส่วนมากจะถูกถ่ายในเเนวนอน (ก็ถึงถูกเรียกว่า landscape ไงล่ะ) เเต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะถ่ายเเบบเเนวตั้งไม่ได้เลย การถ่ายเเบบเเนวตั้งบางครั้งให้ความรู้สึก เเละนำเสนอถึงสถานที่ตรงนั้นได้มากกว่า ส่วนหนังสือหรือนิตยสารภาพถ่าย ก็ยังคงพิมพ์เเบบเเนวตั้ง ซึ่งลูกค้าที่ต้องการภาพถ่ายเพื่อนำไปจัดวางในเว็บไซต์ หรือ สื่อสิ่งพิมพ์ การทำให้ภาพ เเละมุมมองหลากหลาย ก็เป็นตัวเลือกให้ลูกค้า เลือกนำงานของเราไปใช้ได้  

6. ใช้เลนส์ที่มีระยะแตกต่างกัน ทำให้เล่าเรื่องราวในหลายมิติได้มากขึ้น

ส่วนมากคำเเนะนำในการถ่ายภาพทิวทัศน์ คือการใช้ เลนส์มุมกว้าง เพื่อให้ภาพที่ได้ เห็นถึงความกว้างใหญ่ เเละ ความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ในบางสถานที่ การใช้เลนส์อื่นเช่น Telephoto Lenses หรือเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสที่มากหน่อย ก็ทำให้ได้ภาพวิวที่ดึงดูดสายตา ให้จินตนาการดูว่า เลนส์เเบบไหน จะทำให้ภาพที่น่าสนใจ ก็ลองใช้เลนส์นั้นดูได้อย่ายึดเเค่เลนส์มุมกว้างเท่านั้น

7. นึกถึงความหมายหรือเรื่องราวที่อยากจะสื่อ และนำเสนอเรื่องราวออกมาแบบนั้น

ในช่วงเเรกของการถ่ายภาพทิวทัศน์นั้น การมองหาสถานที่ที่สวยงาม จัดมุมมอง เเละองค์ประกอบให้อยู่ในเฟรม เพื่อเเสดงให้เห็นความสวยงามตามธรรมชาติ เเต่เท่านั้นยังไม่พอ ภาพทุกภาพ จำเป็นจะต้องมีจุดสนใจ เมื่อจัดองค์ประกอบภาพ ให้นึกถึงว่า จะให้จุดสนใจ อยู่ที่วัตถุ หรือจุดไหนที่ต้องการหยุดสายตาไว้ตรงนั้น เเละที่สำคัญคือ จุดสำคัญนั้นสื่อถึงเรื่องราว หรือน่าสนใจเพราะอะไร

8. เช็คส่วนขอบของภาพ

เมื่อหาจุดสนใจ เเละจัดองค์ประกอบในเฟรมของภาพ เรียบร้อยเเล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องคิดถึง คือ ส่วนขอบของภาพ จำเป็นต้องปรับภาพ ตัด อาจจะใช้โปรเเกรมเเต่งภาพทั่วไป เพื่อไม่ให้ รบกวนเนื้อหาโดยรวมของภาพ เช่น กิ่งไม้ ก้อนหิน หรือวัตถุที่อยู่บริเวณขอบภาพ

9. เเต่งภาพเเต่พอดี

โปรเเกรมเเต่งภาพในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Adobe Lightroom หรือ Photoshop เป็นเครื่องมือในการเเต่งภาพที่นิยม เเก้ไข ตกเเต่ง ทำให้ช่างภาพทำงานง่ายมากขึ้น เเต่ยังไงก็ตาม อยากจะให้การถ่ายภาพและจบหลังกล้องให้ได้มากที่สุด เเละใช้โปรเเกรมเเต่งภาพจัดการ Post-processing เพียงเล็กน้อย เพราะถ้าคิดว่าถ่ายภาพยังไงก็ได้ เเต่มาเเต่งภาพทีหลัง จะทำให้เราใช้เวลานานกับการทำ Post-processing

10. มองหารายละเอียด เเละรูปแบบ

ภาพทิวทัศน์ส่วนใหญ่จะถ่ายภาพมุมกว้าง เห็นมุมโดยรวมของสถานที่ เเต่ในบางภาพที่ได้รับความสนใจกลับเป็นภาพ closeup ของสายน้ำที่ไหล รูปเเบบ หรือลวดลายของใบไม้  บางครั้งมุมมองภาพเเบบกว้างทำให้รายละเอียดในบางจุดที่น่าสนใจถูกละเลยไป รายละเอียดเเละรูปแบบที่สวยงาม มีอยู่ในธรรมชาติ เพียงเเต่ต้องใช้เวลา เเละมองหารายละเอียดเหล่านั้น และอย่ามองข้าม เพราะรายละเอียดเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ทำให้เราถ่ายภาพมุมกว้างของทิวทัศน์ได้อย่างน่าสนใจ  

11. เรียนรู้จากความผิดพลาด

ความผิดพลาดไม่ได้เป็นสิ่งที่เเย่เสมอไป เเต่ให้เรียนรู้ที่จะพัฒนาจากความผิดพลาดนั้น พยายามแก้ไข ซึ่งเมื่อได้ลองแก้ไข เเละเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ ควบคู่กันไป รับรองได้ว่าการถ่ายภาพทิวทัศน์จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว

พยายามใช้วิธีการเหล่านี้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ในครั้งต่อไป ก็จะเห็นการเปลี่ยนเเปลงเเละพัฒนาการของภาพถ่ายของเราได้มากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญคือการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องและให้เวลากับการฝึกฝนครับ

การถ่ายภาพตอนกลางคืนสำหรับมือใหม่

Exit mobile version