Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

12 เทคนิคฝึกถ่ายรูป เพื่อช่วยให้มือใหม่พัฒนาฝีมือการถ่ายภาพได้ดีขึ้น

12 เทคนิคฝึกถ่ายรูป เพื่อช่วยให้มือใหม่พัฒนาฝีมือการถ่ายภาพได้ดีขึ้น คนอยากจะถ่ายภาพให้ออกมาสวย เหมือนภาพถ่ายที่เห็นตามเพจของ blogger เลยซื้อกล้องมาเเล้วคิดว่า จะต้องถ่ายออกมาสวยเหมือนเค้าเเน่ ๆ

แต่กลับต้องผิดหวัง เมื่อภาพที่ออกมาไม่เหมือนอย่างที่ตั้งใจไว้ ก็ไม่ต้องเสียใจไปเพราะการถ่ายภาพต้องเข้าใจทั้งการจัดองค์ประกอบภาพ การมองภาพ การปรับเเละเเต่งภาพโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ดังนั้นการถ่ายภาพต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เพียงตั้งใจศึกษาเรียนรู้ ก็จะสามารถพัฒนาการถ่ายภาพได้ดีขึ้น ให้ภาพที่ได้ออกมาดูโดดเด่นเเละน่าสนใจ

อ่านบทความรวมทุกพื้นฐานถ่ายภาพ 180 บทความได้ที่นี่

12 เทคนิคฝึกถ่ายรูป เพื่อช่วยให้มือใหม่พัฒนาฝีมือการถ่ายภาพได้ดีขึ้น

1. ใช้กล้องและเลนส์ที่มีอยู่ให้คุ้นเคย 

ไม่ว่าจะใช้กล้องรุ่นไหนอยู่ในตอนนี้ ให้ลองศึกษาคู่มือกล้องว่า กล้องตัวนี้มีความสามารถด้านไหน การใช้งาน ฟังค์ชั่นที่มี เเล้วลองใช้โหมดถ่ายรูปที่มี ถ่ายภาพ เช่น ถ่ายภาพบุคคล ถ่ายภาพทิวทัศน์ การถ่ายมาโคร หรือโหมดที่ใช้สำหรับถ่ายสถานที่ที่มีเเสงน้อย พยายามถ่ายภาพให้บ่อย เเละถ่ายภาพให้ได้ทุกวัน เพื่อจะได้คุ้นกับการใช้โหมด และฟังค์ชั่นการทำงานของกล้อง ใช้ถ่ายภาพในทุกวัน นำกล้องไปทุกที่ เพื่อจะได้ฝึกฝนเป็นประจำนั่นเอง

 2. ศึกษาการตั้งค่าต่าง ๆ ของกล้อง และการดูเเลรักษากล้อง

การปรับค่าต่าง ๆของกล้องมีผลต่อภาพที่ออกมาโดยตรง เช่น การปรับค่าสมดุลเเสง ความเร็วชัตเตอร์ รูรับเเสง ค่าความไวเเสง ค่าของกล้องเหล่านี้ ต้องเรียนรู้เเละฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ เพื่อจะให้ได้ผลลัพธ์ภาพอย่างที่ต้องการ เเละอย่าลืมดูเเลรักษากล้อง ทำความสะอาด ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

3. เรียนรู้เเละฝึกฝนการจัดองค์ประกอบภาพ

การจัดองค์ประกอบภาพพื้นฐานที่คนที่เริ่มถ่ายภาพต้องเข้าใจคือ จุดตัดเก้าช่อง หรือกฏสามส่วน กฎสามส่วนจะเป็นการแบ่งภาพโดยใช้เส้นแนวนอนสองเส้น และแนวตั้งสองเส้น เกิดจุดตัดสี่จุด เเละช่องว่างเก้าช่อง  การวางตัวเเบบหรือวัตถุให้วางไว้ตรงจุดตัดของเส้น ซึ่งเราชอบเรียกกันว่า จุดตัดเก้าช่องนั่นเเหละ เพราะจุดตัดนั้น จะเป็นระยะที่สมองจะสั่งว่า เป็นจุดที่ต้องให้ความสนใจ 

Composition Proportions guidelines set, attention spot of rule of thirds template in any aspect ratio monitors display

4. รู้จักแสง เเละใช้เเสงในการสร้างความรู้สึกให้กับภาพ

ความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่และช่วงเเสงในเวลาที่ต่างกัน ก็จะส่งผลให้ภาพมีความรู้สึกที่เเตกต่างกัน ทั้งยังเป็นเทคนิคที่จะต้องศึกษาด้วย เช่น ควรถ่ายภาพช่วงเเสงเช้า เเสงเที่ยง เเสงเย็นอย่างไร เวลาไหน ที่จะใช้เเสงเป็นตัวกระตุ้นให้ภาพดูน่าสนใจ ยิ่งถ้าเป็นสายเที่ยวด้วยเเล้ว ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะต้องวางเเผน เพื่อให้ได้เวลาที่เเสงพอดี ถ่ายภาพสวย 

5. เดินหามุมที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง

ในบางสถานที่ มุมมหาชนก็เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพ เเต่การที่จะถ่ายเพียงเเค่จุดเดียวอาจจะไม่ท้าทายพอสำหรับช่างภาพบางคน ลงเดินไปรอบ ๆ เเละหามุมที่ขยับมาอีกซักหน่อย เเต่ให้บรรยากาศ และการเล่าเรื่องของสถานที่นั้น ๆ ยังคงอยู่ในภาพ หามุมที่เป็นเอกลักษณ์ ก็จะช่วยให้ภาพดูน่าสนใจขึ้นได้ (แต่ก็ไม่เเนะนำให้เสี่ยงเดินลงหน้าผา หรือปีนขึ้นที่สูง ยังไงก็ดูเรื่องความปลอดภัยด้วยนะ) 

6. ใช้เวลาเเต่ละสถานที่ให้มากขึ้น 

การเดินทางเพื่อท่องเที่ยว เเละถ่ายภาพ อาจจะต้องจัดการเวลาดีพอสมควร เพราะถ้าอยากเที่ยว ก็อยากจะเป็นอะไรหลายอย่าง มีที่ให้ไปหลายที่ เเต่ในบางครั้ง สถานที่เดียวกัน ช่วงเช้า ช่วงสาย เเละเย็น มีเสน่ห์ของสถานที่ สีของท้องฟ้าที่ต่างกันก็ให้อารมณ์ของภาพที่เเตกต่างกัน ลองใช้เวลาอยู่ในเเต่ละสถานที่ให้มากขึ้น รอจังหวะเเสง หรือใช้เวลาเดินหามุม จัดภาพจัดองค์ประกอบ ก็จะทำให้ได้ภาพที่ดูสวย เเละมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกด้วย 

7. รู้ว่าเมื่อไหร่จะใช้ขาตั้งกล้อง ใช้เเฟลช

การถ่ายภาพในเเต่ละสถานการณ์ ในบางครั้งต้องนิ่ง หรือเเสงธรรมชาติไม่เพียงพอ ดังนั้นช่างภาพจะต้องรู้ว่า เมื่อไหร่ที่จะต้องหยิบเอาขาตั้งกล้องมาใช้ หรือต้องมีไฟเสริม เพื่อให้ถ่ายภาพได้คมชัด ไม่เบลอ 

8. ศึกษาการใช้อุปกรณ์เสริม เพื่อให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การจะถ่ายภาพ เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่น่าทึ่ง ดึงดูความสนใจ อาจจะต้องลงทุนกับอุปกรณ์เสริมบางอย่าง เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น เเต่ก็ต้องสำรวจตัวเองว่า จำเป็นเเค่ไหน ลองศึกษารายละเอียดก่อนจะซื้อเเละลองคำนึงถึงความคุ้มค่าด้วยเช่นกัน 

9. ใช้ฟิลเตอร์ที่มีคุณภาพเเละให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ช่างภาพอาจจะต้องลงทุนกับฟิลเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพที่สวยสมใจ แต่ฟิลเตอร์มีหลายหลายราคาเเละคุณภาพต่างกัน ราคาถูกเเเละราคาเเพง เเต่อยากจะให้คำนึงถึงคุณภาพของสินค้า เเละความคุ้มราคาในการใช้งานด้วย ไม่ใช่ตัดสินใจซื้อเพียงเเค่ดูจากราคาเท่านั้น  

10. เรียนรู้การใช้โปรแกรมเพื่อปรับเเละตกเเต่งภาพ

หลังจากที่ถ่ายภาพกลับมาแล้ว หลายภาพอาจจะรู้สึกพอใจกับภาพ เเต่บางภาพอาจจะต้องปรับเเต่ง เพื่อให้ได้ภาพอย่างที่ต้องการ ดังนั้นศึกษาการใช้งานโปรเเกรมสำเร็จรูปต่าง ๆเพื่อปรับเเต่ง เเสง สี ตัดหรือลบบาง อย่างที่ไม่พึงประสงค์ หรือแม้เเต่ใส่บางอย่างเพื่อให้เล่าเรื่องราวได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นจึงควรจะเรียนรู้เทคนิคการใช้งาน เพื่อจะทำให้ภาพ เป็นภาพที่สมบูรณ์ตามที่ตั้งใจไว้

 11. ศึกษาจากงานของช่างภาพมืออาชีพ

ดูเเนวการถ่ายภาพของช่างภาพมืออาชีพ หรือเรียนรู้จากเพจของช่างภาพจากสายต่าง ๆ หน้งสือภาพ ภาพชุด วีดีโอการสอน ดูวิธีการคิด การมองภาพ เเละถ่ายทอดเรื่องราว ช่วงเเรก อาจจะลองเลียนเเบบดูก่อนเเต่สุดท้ายเเล้วก็ต้องหาสไตล์ เเละการนำเสนอของตัวเองให้เจอ 

12. หาจุดอ่อนของตัวเอง เเละพัฒนาให้เก่งขึ้น  ศึกษาเพิ่มเติมอยู่เสมอ

ฝึกฝน เเละใช้เวลากับการลองถ่ายภาพหลายแนว วิธีการถ่ายภาพด้วยเทคนิคต่าง ๆ จนพอที่จะเข้าใจเเละรู้ว่าจุดอ่อนของตัวเองคืออะไร หลังจากนั้นพยายามฝึกฝนให้มาก พัฒนาให้เก่งขึ้น ไม่เเน่จากจุดอ่อน อาจจะพัฒนาจนเป็นจุดเด่นของตัวเองได้เลย ที่สำคัญศึกษาเพิ่มเติมอยู่เสมอและไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเองนะ

รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ

Exit mobile version