Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

3 สิ่งเกี่ยวกับกฏสามส่วนที่มือใหม่ต้องรู้

3 สิ่งเกี่ยวกับกฏสามส่วนที่มือใหม่ต้องรู้ การเรียนรู้กฎการถ่ายภาพนั้นเราต้องเรียนรู้วิธีที่จะมานำมาใช้ เรียนรู้ถึงข้อดีและขีดจำกัดในตัวของมันเอง เป็นเรื่องที่ดีที่จะทำตามกฏในขณะที่เราเริ่มต้นและไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากอะไรอย่างไร ซึ่งในท้ายที่สุด นอกจากจะเรียนรู้ปละปฏิบัติตาม เรายังเรียนรู้ในการที่แหวกกฎและประยุกต์ใช้กับแนวคิดของเรา สร้างสไตล์งานของเราเองได้ด้วยครับ

3 สิ่งเกี่ยวกับกฏสามส่วนที่มือใหม่ต้องรู้

1. กฎสามส่วนคืออะไรและเกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพอย่างไร

หลายคนอาจจะเคยเห็นช่องตาราง 9 ช่องปรากฏอยู่บนหน้าจอแสดงผลของกล้องหรือในสมาร์ทโฟนของเรา สิ่งนั้นก็คือจุดตัดเก้าช่องที่เกิดจากการตัดกันของเส้นตรงแนวตั้งสองเส้นที่แบ่งภาพออกเป็นสามส่วน ตัดกับเส้นตรงสองเส้นในแนวนอน ที่แบ่งภาพแนวนอนออกเป็นสามส่วน โดยจุดตัดจากเส้นแนวนอนและแนวตั้ง จะเกิดจุดตัดขึ้น 4 จุดและแบ่งภาพทั้งหมดออกเป็น 9 ส่วน โดยเราจะใช้ตารางเก้าช่องที่เห็นนี้แหละ ในการถ่ายภาพตามกฏสามส่วน

กฎสามส่วน (Rule of Third) เป็นวิธีการสร้างสมดุลในการจัดองค์ประกอบให้กับภาพถ่ายของเราที่เราสามารถฝึกวางองค์ประกอบได้แบบง่าย ๆ ซึ่งตัวช่วยนี้เป็นประโยชน์มากสำหรับการถ่ายภาพที่จะทำให้ภาพดูสมดุลและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งกฏสามส่วนนั้นสามารถปรับใช้ได้หลากหลายไม่ตายตัว 

2. กฏสามส่วนใช้อย่างไร

ใช้วางระดับเส้นขอบฟ้า

เราสามารถเส้นแนวแนวขวาง หรือเส้นแนวนอนเพื่อกำหนดให้เป็นเส้นขอบฟ้า ซึ่งภาพจะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยจัดแนวก้อนเมฆด้วยเส้นขอบฟ้าเส้นแรกซึ่งด้านบน ซึ่งภาพจะแบ่งส่วนของท้องฟ้าออกเป็นหนึ่งส่วน และส่วนพื้นดินสองส่วน

ใช้แบ่งภาพออกเป็นสามส่วน

เส้นแนวตั้งจะแบ่งภาพแนวตั้งออกเป็นสามส่วน ซึ่งเราสามารถใช้สัดส่วนเหล่านั้นเพื่อแบ่งภาพ หรือจะใช้เพื่อกำหนดจุดกึ่งกลางของภาพด้วยก็ได้ โดยธรรมชาติการทำงานของสมองกับสายตาจะมองหาจุดสมดุลของภาพ ซึ่งในกฎสามส่วนนั้นจะให้สมดุลอย่างชัดเจนในตัวของมันเองซึ่งเราแทบไม่ต้องใช้สายตาในการวัดหาสมดุลของภาพเลย

ในช่วงแรกๆนั้นเราจะฝึกสายตาของเราให้รู้จักการแบ่งสัดส่วนและหาสมดุลของภาพถ่าย ในขณะเดียวกันเราไม่จำเป็นจะต้องมองภาพถ่ายทุกภาพให้ออกว่ามันถูกแบ่งเป็นตามกฎสามส่วนหรือตามจุดตัดเก้าช่องเสมอไป 

ใช้จุดตัดเพื่อกำหนดจุดสนใจของภาพ

จุดตัดที่เกิดขึ้น จะช่วยให้มือใหม่สามารถกำหนดจุดสนใจได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยปกติแล้ว จุดตัดที่เกิดขึ้น จะเป็นจุดสนใจของภาพโดยอัตโนมัติ ให้วางตัวแบบที่สนใจ อยู่บนจุดตัด จะเป็นการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือการถ่ายภาพบุคคลก็สามารถใช้การวางแบบนี้ได้ทั้งหมด

ซึ่งถ้าเป็นภาพบุคค มักจะดวงตาหรือใบหน้าของตัวแบบไว้บนจุดตัด เพื่อกำหนดจุดสนใจให้กับภาพ ซึ่งการถ่ายภาพทิวทัศน์ ก็สามารถใช้การวางตัวแบบที่น่าสนใจไว้บนจุดตัดเช่นเดียวกัน

3. การทำนอกเหนือจากกฏ (ก็คือการแหกกฏ)

กฎในการถ่ายภาพนั้นเป็นเหมือนกับกรอบความคิดอย่างหนึ่ง โดยให้เรามองว่ากฎเหล่านั้นเป็นแนวทางในการถ่ายภาพในขณะที่เราสามารถเพิ่มลูกเล่นให้กับภาพถ่ายของเราเองได้ โดยทั่วไปเรายังใช้กฎสามส่วนไม่ทางตรงก็ทางอ้อมอยู่เสมอ สามารถพิสูจน์ได้โดยการนำช่องตารางวางทาบบนภาพถ่าย แล้วเราจะเห็นได้เลยว่าภาพถ่ายนั้นยังเชื่อมต่อกับกฎสามส่วนได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ในการถ่ายงานภาพยนตร์ จะเห็นว่ามีการจัดวางมุมมองที่ดูแปลกตาไป แต่ก็ยังมีการใช้กฏสามส่วน แต่ก็มีบางมุมที่ต้องการนำเสนออารมณ์และเน้นความรู้สึกของตัวแบบ เราสามารถละกฏได้ และให้ผลลัพท์ที่น่าประทับใจ เช่นการถ่ายให้เส้นขอบฟ้าเอียว เพื่อนำเสนอความงุนงงสับสนให้กับภาพ และอารมณ์ที่แสดงออกของตัวละครนั่นเองครับ

หวังว่าในบทความนี้จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎสามส่วนได้มากขึ้นและประยุกต์ใช้กับความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนได้เลย อยากให้ทุกคนสนุกกับการถ่ายภาพมากขึ้นในทุกๆวันครับ

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพได้ที่ PHOTOSCHOOLTHAILAND

อ่านบทความสำหรับมือใหม่

Exit mobile version