Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

4 เทคนิคการใช้ Negative Space ในการถ่ายภาพเพื่อให้ดูสวยเเละมีความหมาย 

4 เทคนิคการใช้ negative space ในการถ่ายภาพ เป็นอีกเทคนิคการถ่ายภาพที่เป็นที่นิยม จริง ๆเเล้ว negative space ถูกใช้ในงานศิลปะ เเละการออกแบบมาอย่างมากมายด้วยเช่นกัน สำหรับการถ่ายภาพเเล้ว ภาพถ่ายเเนวนี้ จะมีการใช้พื้นที่ว่างของภาพเยอะ เเต่ได้ใจความสำคัญ  ซึ่งการจะถ่ายภาพเเนวนี้ เพื่อให้ได้ภาพสวยนั้น ต้องพัฒนาการจัดวางองค์ประกอบอยู่พอสมควร เเละต้องฝึกสื่อสารกับคนดูด้วย 

4 เทคนิคการใช้ Negative Space ในการถ่ายภาพเพื่อให้ดูสวยเเละมีความหมาย

Negative Space คืออะไร?

คือพื้นที่ว่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวเเบบ หรือพื้นที่ว่างในภาพถ่ายนั่นเอง ส่วน Positive space ก็หมายถึง จุดที่เราโฟกัสเข้าไปในภาพครับ ดังนั้น positive และ negative จึงส่งเสริมซึ่งเเละกัน เเละไปด้วยกัน ซึ่งเทคนิคนี้จะต้องใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง พื้นที่ว่าง ที่ทำหน้าที่เป็นพื้นหลัง เเละตัวเเบบ ที่ต้องสื่อสารออกมาอย่างสัมพันธ์กัน 

การจัดวางภาพ เพื่อให้เกิด Negative Space 

การจัดวางเพื่อให้เกิดพื้นที่ว่าง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ภาพสื่อถึงความรู้สึก โดยให้คนมองได้เข้าถึงภาพจากระยะไกลได้ ซึ่งภาพจะดึงสายตาไปที่ Positive space หรือจุดโฟกัสนั่นเอง เเน่นอนว่าพื้นที่ของ Negative space จะต้องมีเยอะว่าตัวเเบบ เเต่ต้องไม่เด่นเกินตัวเเบบ

ค่อนข้างน่าเเปลกที่ส่วนมากตัวเเบบ ยิ่งเล็ก ยิ่งดึงความสนใจไปยังภาพมากขึ้น เเละในบางครั้ง การใช้เทคนิคเเบบ Negative space ยังอนุญาตให้มีตัวเเบบสองจุดได้ด้วย 

จิตวิทยาของการใช้ Negative Space 

ปกติแล้ว อารมณ์ของภาพเเบบ Negative space จะสื่อถึงความเงียบ สงบ ยิ่งภาพที่มีพื้นที่ว่างมาก ยิ่งทำให้ความรู้สึก สงบ ทวีความรุนเเรงขึ้น เเล้วถ้าหากความรู้สึกนั้นสื่อถึงความเหงา ความโดดเดี่ยว ก็จะยิ่งเหงา และโดดเดี่ยวเข้าไปใหญ่เลยล่ะ เเต่ถ้าอยากจะสื่อออกมาเป็นความรู้สึกเเบบอื่นก็ได้นะ เพียงเปลี่ยนจุด Positive space เป็นการสื่อถึงความผ่อนคลาย หรือความขึงขัง จริงจัง อย่างที่บอกก่อนหน้านี้ Negative space จะช่วยดึง เเละย้ำความรู้สึกนั้นออกมาให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

Negative space เป็นเเค่พื้นที่ว่างเท่านั้นเหรอ ?

Negative spaceปกติจะเป็นการถ่ายภาพที่ปล่อยพื้นที่ว่างไว้ เช่น ท้องฟ้า ทุ่งหญ้า กำเเพง เเต่บางครั้งเราจะเห็นว่า การใช้เเสงเเละเงา หรือพื้นหลังที่วุ่นว่าย เเต่ตั้งค่าให้พื้นหลังเบลอไป มีเพียงเเค่จุดโฟกัสเท่านั้นที่เเสดงออกถึงความหมายภาพ เช่น ภาพนักท่องเที่ยวที่ยืนอยู่ ท่ามกลางผู้คนที่กำลังเดินพลุกพล่าน ที่สถานีรถไฟ โดยพื้นหลังไม่ดึงความสนใจไป เพียงเเต่เติมเรื่องราวให้ชัดขึ้น เเต่มีเพียงจุดโฟกัสเท่านั้น ที่ทำหน้าที่ดึงความสนใจ  

แต่ไม่ได้หมายความว่า Negative space ไม่มีความสำคัญนะ เพราะเมื่อสายตาไปที่จุดโฟกัสเเล้ว รับรู้เรื่องราวหลักเเล้ว สายตาจะเลื่อนมายังพื้นหลัง ที่ทำหน้าที่เสริมเรื่องราวให้ชัดขึ้น เเละเล่าเรื่องได้อย่างสมบูรณ์นั่นเองครับ

เเละถ้าหากเราเข้าใจเรื่องการจัดองค์ประกอบ ก็จะยิ่งทำให้ภาพดึงความสนใจได้เร็วขึ้น เเละชัดยิ่งขึ้น เพราะข้อดีของการถ่ายภาพแบบ Negative space สายตาจะจับจุดโฟกัสได้ตั้งเเต่ไกล เเล้วจะยิ่งดึงความสนใจให้อยากเข้ามาใกล้ขั้น เพื่อรับรู้เรื่องราวทั้งหมด 

เทคนิคการใช้ Negative Space เพื่อสื่อเรื่องราว เเละความหมายภาพให้ชัดขึ้น 

1. ศึกษาเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพ

การจัดองค์ประกอบภาพค่อนข้างสำคัญ เพราะการที่มีพื้นที่ว่างเยอะ จะจัดวางอย่างไร เพื่อให้สื่อสาร เเละ เข้าใจความหมายของภาพได้ชัดเจน อาจจะลองเริ่มง่าย ๆ ด้วยการจัดตามกฏสามส่วนก่อน โดยให้ตัวเเบบมีสัดส่วนอยู่ที่ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของภาพ เเล้วค่อยทดลอง จัดวางมุมอื่น ๆ เพื่อดูว่า จุดไหน ที่จะดึงความสนใจไปยังภาพได้ดีที่สุด เเละสื่อสารกับผู้ชมได้ชัดที่สุด

Photo by Simone Hutsch 

2. ใช้เวลาสำรวจสถานที่ 

เดินดูรอบ ๆเพื่อดูว่า จุดไหน ที่จะดึงความสนใจไปที่จุดโฟกัสได้ดี ตัวเเบบเด่น พื้นหลังเเบบไหน ที่จะเล่าเรื่องได้อย่างชัดเจนเเละสมบูรณ์ ที่ว่างที่ใช้ดึงอารมณ์อย่างที่ต้องการหรือไม่ ใช้เวลามากหน่อย สำรวจสถานที่ เพราะการถ่ายภาพโลเคชั่นก็สำคัญมากเช่นกันครับ 

3. ไม่ยึดติดกับมุมมอง เปลี่ยนมุมมอง เเละอย่าลืมหามุมที่เป็นเอกลัษณ์ของตัวเองด้วย 

การถ่ายเเบบ Negative space ไม่จำเป็นต้องวางภาพในระดับสายตาเท่านั้น มุมก้ม มุมเงย หรือเเบบเอียง ๆ ก็ทำได้ครับ บางครั้งต้องเดินออกไกล เพื่อลองวางตำเเหน่งของจุดโฟกัส เล็ก ๆบนภาพ หรืออาจจะต้องเดินเข้า เพื่อให้ตัวเเบบใหญ่ขึ้น ถึงจะสื่อความหมายชัดเจน 

4. เรียนรู้เเละฝึกฝน

นอกจากการที่จะเรียนรู้จากงานของช่างภาพมืออาชีพ ที่ถ่ายภาพเเนวนี้ หาจากหนังสือภาพ หรือสื่อต่าง ๆเเล้ว ต้องลองเองครับ ลองหยิบกล้อง เเล้วออกไปฝึกฝน ถ่ายภาพออกมาเเล้วลองหา feed back จากการเข้าร่วมกลุ่มถ่ายภาพ หรือเอาภาพให้เพื่อนดูครับ ดูเเล้วเค้ารู้สึกอย่างไร ได้อย่างที่เราต้องการจะสื่อหรือไม่ ฝึกบ่อย ๆ เรียนรู้จากความผิดพลาด เเล้วการสื่อสารด้วยภาพจะชัดขึ้นครับ

Photo by Adam Birkett 

อ่านเพิ่มเติม กฏ เคล็ดลับ เเละ เทคนิคการถ่ายภาพในรูปแบบต่าง ๆ

source : https://expertphotography.com

Exit mobile version