Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

5 วิธีตั้งค่ากล้องมือใหม่ จำง่ายใช้จริง สำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ

5 วิธีตั้งค่ากล้องมือใหม่ จำง่ายใช้จริง สำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ เทคนิควิธีการถ่ายภาพมีให้เรียนรู้กันอย่างมากมาย ทั้งสิ่งที่ต้องจำ เเละสิ่งที่ต้องฝึกฝนเรียนรู้กันอย่างไม่รู้จบ บางเทคนิคก็ยากที่จะเข้าใจ ขนาดความรู้พื้นฐานยังคงต้องเปิดโน๊ตที่จดไว้ก่อนถ่ายภาพซะอีก บทความนี้จะช่วยให้ผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ จดจำค่าต่าง ๆ และวิธีการตั้งค่าได้ง่ายขึ้น

5 วิธีตั้งค่ากล้องมือใหม่ จำง่ายใช้จริง สำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ

1. ISO ปรับเป็นค่าเเรก แต่เปลี่ยนทีหลังสุด (ควรปรับค่ารูรับแสง, ความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการให้เรียบร้อยก่อนตั้ง ISO นะครับ)

ก่อนที่จะถ่ายภาพ ถามตัวเองก่อนว่า เเสงตอนนี้มีลักษณะอย่างไร เเสงเข้ม เเดดเเรง หรือเเสงอ่อนตอนเช้า หรือเย็น ค่ำ มืด ก็ให้ตั้งค่าตามลักษณะของเเสงก่อน เช่น

เเล้วถ้าปรับค่ารูรับเเสงเเละความเร็วชัตเตอร์เเล้ว ยังคงได้เเสงที่ยังไม่ใช่อย่างที่คิด ค่อยปรับ ISO ทีหลังสุดเลย

2. ความเร็วชัตเตอร์ รูรับเเสงใช้ควบคุมเเสง

ทั้งความเร็วชัตเตอร์ และรูรับเเสง ทั้งคู่ต่างทำหน้าที่ควบคุม เเละกำหนดปริมาณเเสงที่เข้ามาในกล้อง เเต่ทั้งคู่ก็มีจุดมุ่งหมายในการทำงานที่ต่างกัน ความเร็วชัตเตอร์จะเกี่ยวข้องกับการจับการเคลื่อนที่ของวัตถุตัวเเบบ เเละ รูรับเเสงจะช่วยทำให้ภาพมีมิติตื้นลึก

ดังนั้นต้องมีเป้าหมายว่า อยากได้ภาพเเบบไหนไว้ในใจ เเล้วจึงค่อย ๆปรับสองค่านี้ ตามลักษณะที่วางเเผนไว้นั่นเเหละ เช่นอยากจะได้ภาพ portrait หน้าชัดหลังเบลอ คมชัด หรือถ่ายทิวทัศน์ เพื่อให้เห็นรายละเอียดชัดทั้งภาพ หรือ น้ำตกที่ตกลงมาเป็นเส้นสาย ก็ปรับค่าตามความเหมาะสมได้ ซึ่งเราจะมาดูต่อไปว่า เเล้วตั้งค่าสองค่านี้อย่างไร

3. ความเร็วชัตเตอร์: ช้า – ไฟเป็นเส้น เร็ว – หยุดการเคลื่อนไหว

หลัก ๆ เเล้วความเร็วชัตเตอร์ ก็คือการจับการเคลื่อนที่ คือ ถ้าต้องการเป็นทิศทางการเคลื่อนที่ เช่น น้ำตกเป็นเส้น เเสงไฟเป็นเส้น ฟ้าเป็นเส้น ก็ให้ใช้ความเร็ซชัตเตอร์ที่ช้า เเต่ถ้าอยากจะหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุ เช่น ถ่ายภาพกระโดดน้ำกระเซ็นเป็นหยด นักเทนนิสที่กำลังหวดลูก หรือจังหวะการกระโดดของสัตว์เลี้ยง ก็ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เร็ว เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวนั่นเองครับ

ตัวอย่างการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ (เเค่เริ่มปรับจากตรงนี้ จะปรับขึ้นลง ก็ดูกันอีกทีนะ)
รถที่กำลังเคลื่อนที่ : 1/4000
คนวิ่ง: 1/1000
เด็ก ๆ วิ่งเล่น: 1/500
ถ่ายภาพบุคคล (ตอนอยู่นิ่ง ๆ): 1/100
วัตถุที่ตั้งอยู่เฉย ๆ: 1/60

4. รูรับเเสง : ตัวเลขมาก ชัดทั้งภาพ ตัวเลขน้อย ละลายหลังเยอะ

เมื่อพูดถึงค่ารูรับเเสง (f) ให้นึกถึงภาพที่ทุกอย่างอยู่ในระนาบเดียวกัน ทั้งตัวเเบบเเละพื้นหลัง เเต่ค่า f จะทำให้มีบางจุดที่จะดูเหมือนอยู่ด้านหน้า เเละชัดกว่าจุดอื่น เเละส่วนอื่นจะถูกลดความสำคัญให้เบลอไปที่เค้าเรียกว่า ระยะชัดลึกชัดตื้นนั่นเเหละ (depth of field)

โดยถ้า f-ตัวเลขที่มีค่ามาก ภาพก็จะมีโฟกัสหลายจุดมากขึ้น ภาพชัดกว้างขึ้น เเละคมขึ้น จนชัดทั้งภาพ เช่นการถ่ายภาพทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลเเบบหมู่

ในทางตรงกันข้าม f-ตัวเลขที่มีค่าน้อย จุดโฟกัสก็จะมีบริเวณที่น้อยลง ระยะที่อยู่ห่างออกจากจุดโฟกัส ก็จะเบลอออกไป ใช้กับภาพที่ต้องการให้พื้นหลังเบลอเช่นการถ่ายภาพบุคคลที่ตัวเเบบมีเพียงคนเดียวเเต่ก็ขึ้นอยู่กับการดีไซน์ภาพด้วยนะว่าต้องการอยากให้ภาพออกมาเเบบไหน

5. ฝึกมองภาพ ฝึกมองเฟรม

ฝึกการมองภาพโดยให้มีสัดส่วน มีการจัดวางองค์ประกอบ การวางจุดสมดุล หรือการใช้สัดส่วนการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ รวมทั้ง การมองเพื่อสร้างกรอบให้ภาพ อาจจะขยับ เคลื่อนที่รอบ ๆตัวเเบบ เพื่อลองหามุม หรือจุดที่สร้างกรอบภาพ หรือให้องค์ประกอบที่มีบังบางส่วนที่ไม่เข้ากันออกได้เช่นกัน

การตีกรอบให้ภาพ จะช่วยให้ความสนใจถูกจำกัดในบริเวณที่กำหนดไว้ ดังนั้นจะช่วยได้มากเลยนะ ถ้าต้องการให้ความสนใจ มุ่งไปยังจุดโฟกัส ก็จะทำให้ตัวเเบบโดดเด่นเเละทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้นได้

อ่านเพิ่มเติม กฏ เคล็ดลับ เเละ เทคนิคการถ่ายภาพในรูปแบบต่าง ๆ

source : https://digital-photography-school.com

Exit mobile version