Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 แบบฝึกหัดสำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ ฝึกตามนี้เก่งขึ้นแน่นอน

7 แบบฝึกหัดสำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ ฝึกตามนี้เก่งขึ้นแน่นอน การเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็ต้องมีการเรียนรู้เเละฝึกฝน เพื่อให้ชำนาญ เเละเข้าใจในสิ่งที่ทำมากยิ่งขึ้น การถ่ายภาพก็เช่นกัน

เรียนรู้เทคนิคเเละประสบการณ์จากช่างภาพคนอื่น ๆ และสร้างประสบการณ์ของตัวเอง โดยการฝึกฝนให้เข้าใจ เรียนรู้การใช้อย่างคล่องเเคล่ว เพื่อที่จะสามารถถ่ายภาพได้สวย ดูน่าสนใจได้ (การฝึกฝนต่อไปนี้ อยากจะให้ทำซ้ำ ๆ เพื่อความคล่องเเคล่ว คล่องตัว และทำให้มั่นใจในการถ่ายภาพมากขึ้นด้วย) 

สำหรับมือใหม่อ่าน 180 บทความพื้นฐานถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ ให้เริ่มต้นได้ง่าย และเลือกอ่านได้สะดวก ได้เลย

7 แบบฝึกหัดสำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ

1. ฝึกการจัดองค์ประกอบ

การจัดองค์ประกอบภาพ มีอยู่หลายวิธีซึ่งการถ่ายภาพเเต่ละเเนวก็จะจัดองค์ประกอบ ที่เเตกต่างกัน ดังนั้นจะลองยกตัวอย่างการจัดองค์ประกอบภาพวิว เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น 

ให้ลองเดินออกไปนอกบ้าน ร้านกาเเฟ สวนสาธารณะ หรือจะออกไปเที่ยวถ่ายภาพเลยก็ได้ จากนั้นให้ยืนอยู่เพียงจุดเดียว เเล้วถ่ายภาพออกมา  10 ภาพ โดยให้องค์ประกอบในภาพเเตกต่างกัน อาจจะจัดให้ตัวโฟกัส (สมมติว่าคือสะพาน) อยู่ 1 ใน 3 ส่วน อยู่ตรงกลางภาพ อยู่ด้านข้าง อยู่มุมก็ตาม จากนั้นนำทั้ง 10 ภาพมาเรียงกันก็จะดูออกว่า ภาพไหน เเละการจัดองค์ประกอบภาพนี้ ที่เหมาะสมที่สุดคือต้องวางสะพานในลักษณะใด 

2. ฝึกการจัดระยะโฟกัสภาพ

เลือกวัตถุขนาดเล็ก เเละใหญ่ เช่น ตุ๊กตาตัวเล็กบนพวงกุญเเจ หรือตุ๊กตาตัวใหญ่ ทำหน้าที่เป็นเเบบจากนั้นลองถ่ายภาพตุ๊กตา ไม่ว่าจะตัวเล็กหรือใหญ่ ให้ชัดเจน อาจจะต้องมีการซูมเข้าออก เพื่อให้ได้ระยะโฟกัส ซึ่งก็เเล้วเเต่ระยะของเลนส์ และชนิดของเลนส์ที่ใช้ด้วย เพราะถ้าเป็นเลนส์ฟิกซ์ หรือเลนส์ที่กำหนดเพียงระยะเดียว ก็ต้องเดินเข้าออก เพื่อหาระยะภาพที่เหมาะสมนั่นเอง 

เเละอีกอย่าง ลองวางจุดโฟกัส ทั้งเเบบจุดเดียว เฉลี่ยทั้งภาพ เเล้วถ่ายภาพออกมา ดูความเเตกต่าง เเล้วก็ปรับเป็นโฟกัสเเบบเเมนนวลด้วยล่ะ เพื่อฝึกการปรับโฟกัสภาพด้วยตัวเองนั่นเองจ้า

3. ฝึกการวาง layer ภาพ

การจะถ่ายภาพให้ดูมีมิติ ภาพหนึ่งภาพก็จะต้องมี foreground midground และ background ดังนั้นก่อนที่จะถ่ายภาพ ลองฝึกให้มองหาเลเยอร์ที่ว่านี้ด้วย จะยกตัวอย่างสำหรับการถ่าย Portrait 

ก่อนอื่น หาตัวเเบบ (อาจจะขอเพื่อนหรือเเฟนมาเป็นเเบบก็ได้) เเล้วถัดมามองให้ออกว่าจะเอาอะไรเป็น foreground คือสิ่งที่อยู่ด้านหน้าตัวเเบบ และ Background คือสิ่งที่อยู่ด้านหลังตัวเเบบ ต้องไม่ซับซ้อน ไม่ดึงความสนใจออกจากตัวเเบบ  

ลองขยับเข้าออก เพื่อให้ foreground ทำหน้าที่เป็นกรอบภาพไปด้วย เเละให้ตัวเเบบชัดที่สุดพื้นหลังก็อาจจะเบลอ หรือพอจะมีรายละเอียดให้เห็นบ้าง ก็จะขึ้นอยู่กับการตั้งค่ารูรับเเสงของช่างภาพเเล้วล่ะ ลองถ่าย 10 ภาพ เพื่อดูความเเตกต่าง เเละจะรู้ว่า เเบบไหน ระยะไหนที่จะได้เลเยอร์ภาพ ที่เหมาะสมที่สุด

4. ฝึกการใช้เส้นนำสายตา

อาจจะต้องหาสถานที่ที่มีเส้นสายเยอะหน่อย เพื่อฝึกในตอนเริ่มต้น อาจจะเป็นใต้ทางด่วน บนสะพาน ทางเดิน ทางรถไฟ เเล้ววางตัวเเบบในจุดที่คิดว่า เส้นเหล่านั้นจะชี้ไปที่ตัวเเบบ เมื่อได้มุมที่คิดว่าใช่เเล้วก็ลองถ่ายภาพออกมา ให้ตัวเเบบขยับซ้ายขวา ถ่ายภาพออกมา 10 ภาพ ดูความเเตกต่างของภาพ เเล้วดูว่า จุดไหนที่ตัวเเบบยืนอยู่ เเล้วเส้นทุกเส้น ชี้ไปที่ตัวเเบบไม่ชี้ออกจากตัวเเบบ ก็เเสดงว่า เส้นเหล่านั้นทำหน้าที่เป็นเส้นนำสายตาไปยังตัวเเบบ เเละทำให้ที่ดึงสายตาของผู้ชมไปที่ตัวเเบบนั่นเอง 

5. ฝึกการตีกรอบให้ภาพ

ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพเเนว landscape หรือ Portrait ก็ตาม การตีกรอบภาพก็เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนด้วยเช่นกัน เพราะการตีกรอบภาพก็เหมือนการวางเเนวความติดของคนดู เพื่อให้ความสนใจ ตกไปอยู่ที่จุดโฟกัสเท่านั้น ไม่ออกไปจุดอื่น

การตีกรอบภาพ ทำได้ทั้งกรอบธรรมชาติ เช่นต้นไม้ ก้อนหิน และกรอบภาพทีใช้ประตู หน้าต่าง หรือผนัง วิธีการฝึกคือ ให้ตัวเเบบ หรือวิวที่อยากจะถ่าย มี Foreground ที่ทำหน้าที่เป็นกรอบภาพนั่นเอง อาจจะลองหามุมในบ้านลองถ่ายออกมาดูก็ได้ เช่น ประตูบ้าน หน้าต่าง ห้องโถงทางเดิน สวนดอกไม้หน้าบ้าน

6. ฝึกการถ่ายภาพโดยมีองค์ประกอบเสริม 

นอกจากจะลองจัดองค์ประกอบเเล้ว ลององค์ประกอบเสริมที่ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจ เช่น เเสง สี เงา รูปร่าง พื้นผิว ขนาด pattern และ negative space ลองถ่ายภาพ โดยมีองค์ประกอบเสริมเหล่านี้ทีละอย่างออกมาอย่างละ 10 ภาพ เช่น เเสงเข้าจากด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ด้านบน แสงเย็น เเสงเช้า เเสงเที่ยง เเล้วนำมาเปรียบเทียบ เพื่อดูลักษณะเเสง คุณภาพของเเสง ความเข้มของเเสง เเละทิศทางเเสง ว่ามีผลต่อภาพ หรือตัวเเบบอย่างไร ทำเเบบนี้กับองค์ประกอบอื่นด้วยเช่นกัน

7. ฝึกการใช้โหมดต่าง ๆ ของกล้อง

การใช้โหมดต่าง ๆ ของกล้องเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ถึงเเม้มือใหม่จะคิดว่ายาก เเต่ถ้าเข้าใจหลักการเเล้ว ก็จะใช้งานได้อย่างง่ายดาย 

เริ่มจากการใช้โหมด P โหมดกล้อง P หรือโหมดถ่ายภาพ Program เป็นโหมดที่มีการทำงานคล้ายกับ Auto มากที่สุด โดยกล้องจะจัดการตั้งทุกอย่างเป็นอัตโนมัติ เเต่จะอนุญาตให้ตั้งค่าบางอย่างได้เช่น ISO (ค่าความไวแสง), White Balance (แสงสุมดุลสีขาว)  ถัดมาโหมด A เน้นการทำให้หน้าชัดหลังเบลอ เหมาะสำหรับการถ่าย Portrait หรือต้องการจะกำหนดค่ารูรับเเสงให้คงที่ (ความลึกตื้นของภาพคงที่)

โหมด S อาจจะต้องคล่องขึ้นมาหน่อย เอาไว้ถ่ายภาพที่ต้องเก็บความเคลื่อนไหว หรือหยุดการเคลื่อนไหว เป็นการปรับค่าความเร็วชัตเตอร์โดยเฉพาะ เเละสุดท้ายโหมด M ปรับตั้งค่าทุกอย่างได้อิสระ ทั้งความเร็วชัตเตอร์, ค่าความไวแสง, รูรับแสง จะใช้โหมดนี้ได้ ต้องเข้าใจ Exposure triangle เพื่อจะปรับค่าได้อย่างสัมพันธ์กัน 

อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ


Exit mobile version