Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

9 ข้อผิดพลาดที่มักเกิด เมื่อเราท่องเที่ยวถ่ายภาพ

ท่องเที่ยวถ่ายภาพ และข้อผิดพลาดที่มักเกิดเมื่อเราเดินทางท่องเที่ยวถ่ายภาพ คอนเทนต์นี้ผมคิดถึงครั้งแรกผมก็มักจะมีเรื่องที่ผิดพลาดเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ และมักเป็นเรื่องพื้น ๆ ที่เกิดขึ้นในการเดินทางถ่ายภาพ ซึ่งหลายเรื่องมันเป็นข้อผิดพลาดที่ให้อภัยตัวเองไม่ค่อยได้เหมือนกัน ในวันนี้เดี๋ยวผมจะรวมประเด็นเรื่อง 9 ข้อผิดพลาดที่มักเกิดเมื่อเราท่องเที่ยวถ่ายภาพครับ

9 ข้อผิดพลาดที่มักเกิดเมื่อเรา… ท่องเที่ยวถ่ายภาพ

ข้อผิดพลาดที่ 1 : ใช้โหมดออโต้ถ่ายภาพ (Auto Mode)

ออกตัวก่อนกันดราม่า จริง ๆ การใช้ Auto Mode ไม่ใช่เรื่องผิดหรอก ถ้าผิดเขาจะสร้างมาทำไมถูกไหม แต่ว่ามีหลายครั้งที่กล้องใน Mode Auto ทำได้ไม่ดีพอเท่ากับตัวเราเองที่เข้าใจภาพอย่างที่เราต้องการมากที่สุด บางครั้งกล้องอาจจะวัดค่าออกมาแล้วตั้งค่า ISO ให้เราสูงเกินไป ทำให้ Noise สูงขึ้นอย่างไม่ควรจะเป็นก็ได้ หรือไม่ก็เลือกรูรับแสง หรือความเร็วชัตเตอร์ได้ไม่ตรงกับภาพที่เราอยากจะได้ก็ได้ การที่ใช้ Mode Auto ในการถ่ายภาพโดยเฉพาะกับกล้องแพง ๆ อาจจะไม่คุ้มค่าเท่าไหร่สำหรับคนที่อยากจะถ่ายภาพให้เก่งขึ้น จริง ๆ โหมดนี้เหมาะกับคนที่อยากถ่ายภาพง่าย ๆ แล้วก็ได้ภาพแบบไม่ซีเรียสอะไรมาก ก็ดูโอเคอ่ะ แต่ไม่ได้ต้องการฟิกซ์การตั้งค่าอะไรเฉพาะตัวมากนัก

ท่องเที่ยวถ่ายภาพ, การท่องเที่ยว, การถ่ายภาพตอนไปเที่ยว, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Landscape, Travel, Photography

แต่เมื่อไหร่ที่เราต้องการภาพให้ตรงกับไอเดียของเรา กับแนวความคิดของเรา ต้องการภาพที่สะท้อนมุมมองสำคัญ ๆ ของเรา การเลือกใช้โหมดอื่นที่ตอบโจทย์ความต้องการเราได้เฉพาะตัวมากกว่า ก็จะทำให้ได้ภาพที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราคิดที่สุดครับ

ยกตัวอย่าง บางครั้งเราอาจจะอยากได้ภาพรถวิ่งเป็นไฟเส้น ๆ บนถนน เราก็ควรเลือกจะใช้โหมด M หรือ S ที่คุมความเร็วชัตเตอร์ได้ตามความต้องการเป็นต้น อะไรแบบนั้น เพราะงั้นก่อนที่จะเลือกใช้โหมดอื่นนอกจาก Auto ได้ เราก็ควรรู้ว่าภาพในหัวเราต้องถ่ายแบบไหน ต้องตั้งค่าอะไรถึงจะได้ภาพแบบนั้นด้วยนะครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– วิธีถ่ายภาพด้วยโหมด M สำหรับมือใหม่ใน 7 ขั้นตอน
– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M

ข้อผิดพลาดที่ 2 : พลาดถ่ายภาพเป็นไฟล์ JPEG (ไม่ถ่ายไฟล์ RAW)

การถ่ายภาพ JPEG มันก็สะดวกครับที่เราจะได้ไฟล์เลย เอาไปอัพลงเฟซหรือสื่อนั่นนี่ได้ทันที แต่ไฟล์ JPEG จะแย่ทันทีถ้าหากเราต้องการนำไฟล์ภาพไปแต่งต่อ หรือต้องการภาพที่ให้ได้ไฟล์สมบูรณ์มาก ๆ เพราะงั้นถ้าใครยังไม่รู้จักไฟล์ JPEG กับ RAW ต่างกันแบบไหน สามารถอ่านที่บทความเสริมได้เลย

https://www.photoschoolthailand.com/raw-vs-jpeg-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87/

ทีนี้การถ่ายด้วยไฟล์ RAW มันดียังไงล่ะ เวลาที่เราไปเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะต่างประเทศ เราก็อยากที่จะได้ไฟล์ที่สมบูรณ์มาก ๆ แล้วก็ถ้ามีข้อผิดพลาดตรงไหนเราก้อยากจะแต่งภาพให้สวยกว่าเดิม หรือดูดีกว่าเดิมในแบบที่เราคาดหวังไว้ ไฟล์ RAW ก็จะทำให้เราได้ภาพที่เป็นข้อมูลที่ใหญ่ ๆ แล้วสามารถปรับรายละเอียดของภาพได้เยอะนั่นเอง แนะนำอ่านคอนเทนต์ RAW vs JPEG ครับ ผมได้อธิบายแบบละเอียดแล้ว ^^

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– RAW vs JPEG เหตุผลที่ควรถ่ายภาพด้วยไฟล์ RAW และเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง RAW และ JPEG

ข้อผิดพลาดที่ 3 : ตั้ง ISO สูงเกินไป

ส่วนใหญ่เรื่องนี้จะเกิดกับคนที่เผลออยู่สองประเด็น ประเด็นแรกคือ ไม่รู้ว่า ISO คืออะไร มีผลยังไงเมื่อตั้ง ISO สูง ๆ อาจจะรู้แค่ว่าทำให้ภาพสว่างขึ้นได้ ก็ดีสิ แต่ไม่รู้ข้อเสีย ก็เลยเผลอถ่าย ISO สูงเกินไป, อีกประเด็นคือตั้งค่า Auto ISO ไว้สูงเกินไปก็เลยพลาด ทำให้ภาพถ่ายของเราได้คุณภาพได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น

การใช้ ISO เคยบอกแล้วนะครับข้อดีคือ มันทำให้ภาพสว่างขึ้นได้เพราะความไวแสงกล้องสูงขึ้น ช่วยได้ในที่แสงน้อย ๆ เนี่ย เวิร์คมากกับการเพิ่ม ISO แต่ข้อเสียหลักคือมันทำให้เกิดสัญญาณรบกวนในภาพเป็นเม็ดเล็ก ๆ เรียก Noise นั่นแหละ ดังนั้นควรตั้งค่า ISO ให้พอประมาณครับ อาจจะอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ อย่างผมคือไม่เกิน 3200 หรือตึงมือจริง ๆ จะตั้ง ISO ที่ 6400 เป็นต้นครับ ดังนั้นการถ่ายภาพวิวหรือภาพตอนไปเที่ยว ก็ควรใช้ ISO ให้เหมาะสมนะครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– ISO คืออะไร รวมทุกอย่างที่ต้องรู้ของ ISO สำหรับมือใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ
– วิธีการใช้ Auto ISO สำหรับมือใหม่ และการตั้งค่าไม่ให้ Noise เยอะเกินไป
– Triangle Exposure Basic เคล็ดลับการตั้งค่า Speed – ISO – Aperture พื้นฐานที่คนถ่ายภาพต้องรู้

ข้อผิดพลาดที่ 4 : ตั้งความเร็วชัดเตอร์ช้าไปหน่อย ภาพเบลอจ้า

เรื่องภาพเบลอหรือไม่ชัดนี่เป็นโจทย์ใหญ่ของหลาย ๆ คนเลย เพราะทุกคนปรารถนาที่จะให้ภาพตัวเองทั้งชัด ทั้งคมกริ๊บ รายละเอียดเยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่สาเหตุที่ทำให้ภาพเบลอนั้นเรื่องความเร็วชัตเตอร์มีผลเหมือนกัน บางครั้งเราอาจจะเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ค้างไว้ที่ 1/60 ซึ่งถ้าถ่ายภาพทั่วไปมันก็พอแหละ แต่บางสถานการณ์มันอาจจะไม่ตอบโจทย์ทั้งหมดได้ ดังนั้นเราควรจะมีสมาธิอยู่เสมอว่าภาพที่เราอยากจะได้นั้นควรมีความเร็วชัตเตอร์อยู่ที่เท่าไหร่ อาจจะเลือกโหมดกล้องที่กำหนดความเร็วชัตเตอร์ให้ได้ตามต้องการด้วย เพื่อไม่ให้พลาดในการเก็บภาพถ่ายที่มีการเคลื่อนไหว

ท่องเที่ยวถ่ายภาพ, การท่องเที่ยว, การถ่ายภาพตอนไปเที่ยว, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Landscape, Travel, Photography

ผมคงไม่อาจบอกได้ว่าควรตั้งค่ายังไงให้เหมาะสมกับทุก ๆ สถานการณ์ครับ แต่คงช่วยแนะนำได้ว่าการฝึกที่จะเข้าใจสถานการณ์นั้น ๆ ว่าเราควรจะใช้ความเร็วชัตเตอร์แบบไหน น่าจะเหมาะสมที่สุดมากกว่า ดังนั้นอยากแนะนำให้ซ้อมบ่อย ๆ ครับ แล้วก็ฝึกฝนความชำนาญในการเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ในแต่ละสถานการณ์นะครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– 10 เหตุผลทำไมถ่ายภาพแล้วเบลอ ไม่คม
– 9 ข้อผิดพลาดที่เป็นเหตุถ่ายแล้วภาพเบลอ และวิธีแก้ไข

ข้อผิดพลาดที่ 5 : ถ่ายภาพตอนเที่ยง (ตอนที่ผมพลาดเรื่องนี้ เพราะตอนนั้นยังไม่เข้าใจเรื่องแสง)

เรื่องแสงใครก็รู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความเข้าใจเรื่องแสงในช่วงเวลานั้น ๆ สำหรับแสงที่อยู่ในตอนกลางวันหรือเที่ยงเปรี๊ยะเลยเนี่ย แดดจะแรง จ้า ดังนั้นหลีกเลี่ยงที่จะถ่ายภาพช่วงตอนเที่ยง ๆ ให้เวลานี้เป็นการเตรียมตัวสำหรับการถ่ายภาพช่วงเย็น ๆ หรือค่ำ ๆ จะทำให้เราไม่เหนื่อยและมีโอกาสได้ภาพที่สวย ๆ เยอะขึ้นมาหน่อยครับ

ท่องเที่ยวถ่ายภาพ, การท่องเที่ยว, การถ่ายภาพตอนไปเที่ยว, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Landscape, Travel, Photography

นอกจากนี้เรื่องแสงกับทิศทางของแสงก็เป็นส่วนสำคัญนะ ซึ่งมันก็พ่วงกับช่วงเวลาด้วย ดังนั้นการถ่ายภาพเที่ยวมันมีเรื่องของ Landscape เข้ามาปน ๆ ด้วย เราก็ควรจะใส่ใจแหละว่าช่วงเวลามันเป็นปัจจัยที่มีผลกับภาพยังไง แบบไหนบ้าง แล้วเราควรทำยังไงเป็นต้นครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อผิดพลาดที่ 6 : เตรียมตัวไม่พร้อม

หนึ่งในความพึงพอใจของคนที่ถ่ายรูปเที่ยวหรือถ่ายภาพวิวต่าง ๆ ได้ดังใจ แต่นั่นแปลว่าเราก็ต้องพร้อมนะสำหรับสถานการณ์นั้น ๆ คำว่าพร้อมนี่ก็มีตั้งแต่การเผื่อเวลาที่จะไปเตรียมตัวในสถานที่นั้น ความพร้อมของตัวเราเอง สมาธิ อุปกรณ์ที่เตรียมมาต้องครบ ต้องพร้อมลุย บ่อยครั้งเราจะพลาดลืมเอาแบตเตอรี่มาบ้ง ลืมเอาเมมโมรี่การ์ดมาบ้าง หรือหนัก ๆ ก็ลืมเพลตขาตั้ง สิ่งเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะงั้นคำว่าพร้อมสำหรับพวกเรา คือต้องพร้อมจริง ๆ เตรียมตัวให้ดี ถ้าเราคิดว่าการถ่ายภาพ และได้ภาพสวย ๆ กลับมานั้นมันสำคัญ เราก็ควรให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการถ่ายภาพด้วยนะครับ

ท่องเที่ยวถ่ายภาพ, การท่องเที่ยว, การถ่ายภาพตอนไปเที่ยว, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Landscape, Travel, Photography

อ่านบทความเสริมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
– 7 เรื่องง่าย ๆ ที่ทำให้ภาพถ่ายสวยขึ้นแต่หลายคนกลับมองข้าม

ข้อผิดพลาดที่ 7 : พกอุปกรณ์มามากเกินความจำเป็น

อันนี้ผมโทษตัวเองเลย เป็นประจำมาก ด้วยที่เป็นคนคิดเสมอว่า “เผื่อเหลือดีกว่าขาด” มันทำให้บ่อยครั้งผมพลาดพกอุปกรณ์เยอะเกินความจำเป็น ทำให้มันหนักและเป็นภาระในการเดินทางอย่างมาก สิ่งที่มันหายไปอย่างชัดเจนเลยคือ “ความคล่องตัว” ในการเดินทางและเกิดจังหวะที่ทำให้ขาดโอกาสในการถ่ายภาพดี ๆ เพราะสัมภาระเรามันเยอะซะเหลือเกิน ดังนั้นการที่เราจะเดินทางถ่ายภาพควรวางแผนเรื่องอุปกรณ์ที่เราจะต้องพกไปถ่ายภาพด้วยครับ

ท่องเที่ยวถ่ายภาพ, การท่องเที่ยว, การถ่ายภาพตอนไปเที่ยว, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Landscape, Travel, Photography

บางครั้งมันทำให้เราเหนื่อยจนหมดแรง ถึงที่หมายไปก็ไม่พร้อมจะถ่ายรูปเพราะเหนื่อยมาก หมดอารมณ์จะสร้างสรรค์อะไรดี ๆ ก็มี ไม่ก็ตอนถ่ายภาพอยู่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งถ่าย มันก็วุ่นที่จะต้องทั้งรื้อทั้งเก็บของมากมายแล้วเคลื่อนย้ายในเวลาที่รีบเร่ง เพราะงั้นทางที่ดีอย่างที่บอกครับ เตรียมตัวมาให้พร้อมและประเมินการพกพาของต่าง ๆ มาให้เหมาะสมด้วย

ข้อผิดพลาดที่ 8 : ไม่วางแผนในการถ่ายภาพมาล่วงหน้า (ควรวางแผนถ่ายภาพมาล่วงหน้านั่นแหละ)

มันทำได้ด้วยเหรอ ได้สิครับ เรื่องการวางแผนถ่ายภาพเป็นเรื่องจำเป็นมาก เราควรรู้แล้วว่าในแต่ละสถานที่ที่เรากำลังจะไปนั้น ต้องไปถ่ายอะไร มุมไหนที่เราอยากจะได้ มุมไหนที่เราอยากจะเอามาเล่าเรื่องต่อ ดังนั้นก็ควรทำการบ้านให้ดี ให้คุ้มกับการเดินทาง ให้เหมาะสมต่อความตั้งใจของเราครับ นอกจากนี้การวางแผนมาล่วงหน้าทำให้เรารู้ระยะของเลนส์ที่จะใช้ อุปกรณ์ที่เราจะพกไปด้วยนะครับ

ท่องเที่ยวถ่ายภาพ, การท่องเที่ยว, การถ่ายภาพตอนไปเที่ยว, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Landscape, Travel, Photography

อ่านบทความเสริมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
– เทคนิคการถ่ายภาพให้มีความสมดุล
– พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพด้วย กฎสามส่วน

ข้อผิดพลาดที่ 9 : จมกับเทคนิคเยอะเกิน

อันนี้มักจะเกิดเวลาที่เราฝึกกับเรื่องของ Setting อุปกรณ์ที่ใช้ แล้วก็เรื่องของกฎเกณฑ์ในการถ่ายเยอะแยะ จนมันมากลบความสำคัญของเนื้อหาในภาพไป ผมมักจะโดนเพื่อนเตือนประจำว่า “ภาพของนายนี่เล่นเทคนิคเยอะเลยนะ” หมายถึงว่าเราตั้งใจถ่ายเพื่อให้ได้ภาพสะท้อนนะ ตั้งใจถ่ายให้ได้ความเร็วชัตเตอร์นาน ๆ เพื่อเอฟเฟคน้ำจะเป็นแบบนี้นะ แต่เราไม่ได้ดู Contents เลยว่า เรากำลังบอกอะไรกับคนดู เรากำลังบอกว่าเราใช้เทคนิคนี้ถ่ายน้ำเป็นเส้นมาเลยนะ หรือเรากำลังจะบอกเขาว่า สถานที่นี้สวยมาก น้ำใส บรรยากาศดี น่าพักผ่อนมาก อะไรแบบนั้นครับ ซึ่งมันก็มีความสำคัญคร่อม ๆ กันอยู่ ยังไงก็อยากให้เข้าใจว่าการสื่อสารกับคนดูเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะเรากำลังบอกเล่าสิ่งที่เราเห็นผ่านภาพถ่ายให้คนดูรู้สึกเหมือนกับเรา ไม่ใช่เพียงแค่เรากำลังโชว์ว่าถ่ายภาพมาด้วยเทคนิคอะไรให้ได้ภาพแบบนี้

ท่องเที่ยวถ่ายภาพ, การท่องเที่ยว, การถ่ายภาพตอนไปเที่ยว, กล้องถ่ายรูป, พื้นฐานการถ่ายภาพ, Landscape, Travel, Photography

อ่านบทความเสริมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
– การถ่ายภาพให้สวยขึ้นโดยใช้มุมมองการเล่าเรื่องและมุมมองจากภาพยนตร์
– การเพิ่มมุมมองในการถ่ายภาพให้สวยขึ้น

Exit mobile version