Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

ไขปริศนากราฟ อ่านค่า Histogram

Histogram สามารถพบได้ในทุกซอฟต์แวร์ที่ใช้ตกแต่งภาพในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีอยู่ในกล้อง Mirrorless หรือ กล้อง DSLR ของเราด้วย ซึ่งเราจะเห็นมันประจำจนชินแหละ เพียงแต่หลายคนยังไม่เข้าใจว่า “กราฟนี้มีประโยชน์อะไร?” ซึ่งจริง ๆ แล้วฮิสโตแกรมกับการถ่ายภาพมีความสำคัญมาก

แม้ว่าคนที่เริ่มต้นถ่ายภาพอาจจะไม่เข้าใจว่ามันมีประโยชน์อะไร เอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ก็เลยทำให้มองข้ามความสำคัญตรงนี้ไป แต่จริง ๆ แล้วมันมีประโยชน์มาก ๆ เลยนะ เรียกได้ว่าขาดไม่ได้เลยดีกว่า

ไขปริศนากราฟ อ่านค่า Histogram

1. Histogram กับความเข้าใจพื้นฐาน

ฮิสโตแกรม คือการแสดงรูปแบบโทนสีของภาพเรานั่นแหละ กล่างคือกราฟนี้จะแสดงปริมาณความสว่างที่เริ่มต้นจากมืดสุด (ดำ) ค่าความสว่างคือ 0% และความสว่างที่สุด (ขาว) คือความสว่าง 100% ดูตามภาพก็ได้ครับ

กราฟทางด้านซ้ายคือส่วนมืดครับ ส่วนด้านขวาเป็นส่วนสว่างในภาพ ส่วนตรงกลางจะเป็น Midtone ซึ่งอยู่ระหว่างส่วนมืดและสว่าง นอกจากนี้แกนแนวตั้งของจะเป็นการบอกปริมาณของความสว่างที่เฉพาะเจาะจงในโทนนั้น มีค่า 0-255 (0 คือมืดสุด 255 คือสว่างที่สุด)

กราฟฮิสโตแกรมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่กระบวนการถ่ายภาพเข้ามาเลย จนมาถึงการปรับตั้งค่าในโปรแกรมแต่งภาพด้วย

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นฐานการถ่ายภาพที่ต้องรู้

2. Histogram ช่วยบอกรายละเอียดที่หลุดไปในส่วนมืด และ ส่วนสว่าง

หากส่วนใดส่วนหนึ่งของ ฮิสโตแกรมเป็นการ “สัมผัส” ที่ขอบด้านใดด้านหนึ่ง คือกราฟเทไปสักด้านนึงหนักมาก ๆ จะทำให้รายละเอียดของภาพที่เราได้มาสูญเสียไป (Shadow Clipping, Highlight Clipping) ดังนั้นลองกลับไปดูภาพที่เราถ่ายมาก็ได้ครับ ถ้าหากว่าภาพไหนที่มีการเทน้ำหนักไปทางด้านใดด้านหนึ่งมาก ๆ ก็จะทำให้รายละเอียดเสียไป

นอกจากนี้ยังช่วยให้เราที่จะดูถึงสภาพแสงที่กล้องเก็บมาได้จริง ๆ ด้วยนะว่ามันเป็นยังไงนั่นเองครับ

เทคนิคจัดองค์ประกอบภาพสำหรับมือใหม่

3. สามารถอ่าน Channel ของสีให้ด้วย

ฮิสโตแกรมจะแสดงข้อมูลสามสีหลักคือ สีแดง สีเขียว และสีฟ้า เรียกว่า Histogram RGB เราจะสังเกตได้ว่าในกราฟฮิสโตแกรมจะประกอบด้วยหลายแผนภาพที่มีสีต่างกัน สามแผนภาพสีในฮิสโตแกรมนี้จะแสดงช่องสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงินตามลำดับ แผนภาพสีเทาแสดงตำแหน่งที่ทั้งสามช่องทับซ้อนกัน สีเหลือง ฟ้า และม่วงแดงปรากฎที่ช่องทั้งสองช่องทับซ้อนกันด้วย

4. ใช้ดูค่า Exposure ในตอนถ่ายภาพด้วยนะ

หลายคนจะใช้ฮิสโตแกรมเป็นตัวบอกภาพรวมของแสงที่ได้จากการถ่ายภาพ คนที่ถ่ายรูปหลายคนเลยใช้กราฟฮิสโตแกรมนี้ในการประเมินว่าข้อมูล หรือค่าแสงที่ได้เข้ามาเนี่ย ดีหรือไม่ดี ซึ่งกราฟฮิสโตแกรมในอุดมคติค่ามันต้องออกมากลาง ๆ ไม่เสียรายละเอียดส่วนมืดและส่วนสว่างไป

Bombay Beach, Salton Sea, California Bombay Beach is an interesting town along the eastern shore of the Salton Sea. A small community still resides in the half abandoned town. Some time ago, shifting water levels flooded the town and a wall was built around it to keep high tides out. This area of town exists on the outside of the wall and it was once a trailer/RV park. Somehow, it became buried under several feet of mud and sand — trailers and all. A different view of the trailer with the lawn chair in front of it.

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับภาพถ่ายอยู่ดี บางภาพเราต้องการถ่ายทอดความมืดเป็นหลัก หรือบางภาพก็ต้องการถ่ายทอดความสว่างเป็นอารมณ์หลัก สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ว่าภาพที่เราถ่ายนั้นควรจะดูค่ากราฟ ออกมาประมาณไหนเพื่อให้รู้ได้ว่า เราได้ค่าแสงที่ออกมาจริง ๆ

รวมบทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพ PORTRAIT สำหรับมือใหม่ที่ควรรู้

4.1 กราฟแบบไหนบอกว่าภาพมันมืด

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงภาพถ่ายที่มันออกมาแล้วแสงน้อย ภาพมืด และมันทำให้ภาพกราฟแสดงออกมาอย่างที่เห็นว่าข้อมูลที่ได้มันเทไปด้านซ้ายหมด

4.2 กราฟแบบไหนบอกว่าภาพมันสว่าง

ภาพนี้คือภาพที่มันสว่างเกินไป กราฟเทไปทางด้านขวา โทนสีและรายละเอียดหลายอย่างก็หลุดออกไปเยอะเลย ทำให้เราเห็นว่าจริง ๆ แล้วมันควรมืดลงกว่านี้หน่อย กราฟก็น่าจะมากลาง ๆ นะ

4.3 กราฟแบบไหนบอกว่าแสงมันพอดี

ลองมาวิเคราะห์ภาพสุดท้ายของกราฟกันครับ ที่เราเห็นว่าแทบไม่มีข้อมูลภาพส่วนไหนไปแตะขอบเลย ซึ่งมันจะได้ค่าแสงออกมาที่พอดี ๆ

รวมเทคนิคการถ่ายภาพในที่แสงน้อย

5. ค่าฮิสโตแกรมแบบไหนดีที่สุด?

จากตัวอย่างที่ให้มาจะรู้สึกว่า ฮิสโตแกรม ที่มีข้อมูลอยู่กลาง ๆ มันก็จะดีสุดนะ เพราะข้อมูลไม่มีรายละเอียดหลุดทั้งในส่วนมืดและส่วนสว่างเลย แต่จริง ๆ แล้วผมไม่ได้อยากให้เข้าใจอย่างนั้นลองดูภาพด้านล่างนี้ครับ

ภาพที่ให้ดูเมื่อครู่จะเป็นภาพที่ดูแล้วโทนมันน่าจะหลุดรายละเอียดไปเยอะมาก เพราะกราฟมันหนักสุดไปทางด้านขวา แต่จริง ๆ แล้วภาพที่ถ่ายออกมากลับรู้สึกว่ามันก็ดีมากเลยนะ นั่นแหละครับ เพราะว่ากล้องนำข้อมูลที่ได้แสดงออกมาผ่านการแสดงเป็นกราฟฮิสโตแกรม นั่นก็จริง แต่มันไม่ได้บอกว่ากราฟแบบไหนที่ดีที่สุด มันอยู่ที่เราจะถ่ายภาพแบบไหน แล้วเราใช้ กราฟนี้ในการ Monitor ภาพรวมว่ากราฟแบบนี้แหละเหมาะกับภาพของเราที่จะเอาภาพนี้ไปทำต่อนั่นเองครับ

source : https://photographylife.com/understanding-histograms-in-photography

อ่านบทความเกี่ยวกับระบบโฟกัสสำหรับมือใหม่

Exit mobile version