
10 เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพให้ดูโปร
10 เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพให้ดูโปร การจัดวางองค์ประกอบเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องอาศัยความเป็นศิลปิน เเละศาสตร์เเห่งการจัดวางเข้าด้วยกัน จริง ๆเเล้วไม่มีกฏตายตัวว่าจะต้องวางอย่างไร เพียงเเต่มีกฏพื้นฐานเพื่อช่วยให้มือใหม่เริ่มต้น ได้มีแนวความคิดพื้นฐานในการมองภาพอย่างเป็นสัดส่วนนั่นเอง อีกทั้งยังช่วยเรื่องการมองภาพด้วยว่าถ้าจัดวางตามหลักของทฤษฎีการจัดวางเเล้ว ภาพที่ได้จะเป็นอย่างไร เเละมีจุดไหน ที่มือใหม่ต้องใช้ความระมัดระวังในการจัดวาง

10 เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพให้ดูโปร
1.กฏสามส่วน (Rule of Thirds)
จะไม่พูดถึงกฏนี้เลยก็คงจะไม่ได้ เพราะเป็นกฏพื้นฐานที่คนที่เริ่มถ่ายภาพต้องรู้เลยล่ะ และยังเป็นกฏที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการจัดองค์ประกอบภาพและยังคงใช้ได้ดีด้วย

ภาพจะถูกเเบ่งออกเป็น 9 ช่อง โดยเกิดจากเส้นเเนวนอนสองเส้นที่ขนานกันเเละเเนวตั้งสองเส้นที่ขนานกัน เกิดจุดตัดสี่จุดในภาพ เเละจุดตัด 4 จุดนี่เอง เป็นจุดที่สายตาจะให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงใช้บริเวณจุดตัดนั้น เป็นจุดที่วางตัวเเบบ

มือใหม่อาจจะลองวางตามจุดต่าง ๆ หรือส่วนที่เเยกออกมาเช่น วางตัวเเบบไว้ที่ 1 ใน 3 ส่วนของภาพ หรือลองวางตรงช่องกลางเพื่อฝึกการวางเพื่อให้ภาพเกิดสมดุลก็ได้ ลองฝึกวางตัวเเบบไว้ที่จุดต่าง ๆ เเล้วมองภาพ ดูผลลัพท์ที่ได้ ก็จะช่วยให้พัฒนาการจัดองค์ประกอบภาพได้เร็วขึ้น
- 20 วิธีจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจที่สุด
- 30 ไอเดียการจัดองค์ประกอบภาพที่จะทำให้ภาพถ่ายของคุณสวยขึ้น
2. การจัดเเบบสมดุลสมมาตร
การวางวัตถุอยู่ตรงกลางภาพ โดยให้ความรู้สึกของสองฝั่งถ่วงน้ำหนักเท่ากัน อาจจะคิดว่าเป็นภาพที่น่าเบื่อ เเต่อย่าลืมไปว่า พื้นหลัง วัตถุที่นำมาเป็นองค์ประกอบ สถาปัตยกรรม พื้นผิว หรือสีสันที่ถูกนำมาใช้ ก็เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ภาพ ดูโดดเด่น เเละดึงดูดสายตาได้ด้วยนะ

- 7 วิธีการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้มีความสมดุลและจุดดึงดูดสายตา
- เทคนิคถ่ายภาพให้มีความสมดุล แค่เข้าใจมือใหม่แค่ไหนก็ทำได้
3. การสร้างเลเยอร์ให้กับภาพ
การที่ภาพมีระยะชัดที่เเตกต่างกัน มีจุดโฟกัสที่ชัด มีบางจุดที่เบลอ จะทำให้ความรู้สึกของผู้มองภาพรู้สึกคล้ายกับของจริง มีมิติ มีชีวิตชีวา ก่อนที่จะถ่ายภาพ ลองจินตนาการว่า จะให้จุดไหนทำหน้าที่เป็นฉากหน้า ฉากกลาง เเละพื้นหลัง เพราะเมื่อภาพประกอบด้วยเลเยอร์เหล่านี้เเล้ว จะช่วยให้ภาพดูมีระยะ ตื้น ลึก ดูมีมิติขึ้นด้วย

4. การจัดวางเฟรมให้ภาพ
เทคนิคนี้เป็นการจัดวางเพื่อให้จุดโฟกัสของผู้ชมอยู่ในจุดที่ช่างภาพต้องการให้โฟกัสไปยังจุดนั้น โดยการสร้างกรอบให้ภาพ อาจจะใช้โครงสร้างสภาปัตยกรรม หรือธรรมชาติก็ได้ โดยการตีกรอบให้ภาพ จะช่วยกรอบความคิดให้เเคบลง วางมุมมองให้คนดูมองในจุดที่วางไว้ เป็นการกำหนดจุดวางสายตานั่นเองครับ

5. ดึงความสนใจไปที่จุดโฟกัส ด้วยการใช้เส้นนำสายตา
เส้นที่วางในภาพ จะช่วยดึงสายตาของผู้มองเข้าไปในจุดสนใจที่วางไว้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงก็ได้เส้นโค้งก็เป็นเส้นนำสายตาได้นะ เเต่สิ่งที่ต้องระวังคือถ้าเส้นนั้นนำสายตาออกไปนอกเฟรม นั่นหมายถึงว่า เราใช้เส้นนำสายตาผิดจุดประสงค์เเล้วล่ะ

6. วางแนวเส้นขอบฟ้า
บางครั้งการวางเเบบเอียง ๆ ก็สร้างภาพที่น่าสนใจได้ เเต่ถ้าหากว่า เเต่ในบางภาพ ถ้าเอียงเเล้ว รู้สึกฝืนธรรมชาติ ก็เเนะนำให้วางตามเเนวเส้นขอบฟ้าดีกว่า เช่น ภาพของดวงอาทิตย์ตกที่เส้นขอบฟ้า หรือเรือที่กำลังเล่นอยู่กลางทะเล

การดูเส้นขอบฟ้า นอกจากจะช่วยให้ภาพดูไม่เอียงเเล้ว ยังช่วยจัดความสมดุลให้กับภาพได้ด้วย ซึ่งความรู็สึกสมดุล เป็นความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์ ถ้าเป็นว่าไม่สมดุล หรือเอียง จะทำให้รู้สึกอยากเเก้ไข เกิดความไม่สบายใจขึ้นได้ ดังนั้นพยายามมองเส้นขอบฟ้า ให้ขนานกับพื้นไว้ก่อน เพื่อให้ภาพที่ได้ ไม่กระตุ้นความรู้สึกที่ไม่ดีต่อภาพออกมา
7. การจัดวางให้เกิดพื้นที่ว่าง (Negative space)
การจัดองค์ประกอบเเบบให้มีพื้นที่ว่าง อาจจะดูเเปลกสำหรับบางคน เพราะอาจจะดูโล่งเกินไป เเต่มันก็คือการจัดองค์ประกอบอีกเเบบหนึ่งที่น่าจะต้องรู้ไว้ โดยวัตถุ หรือตัวเเบบอาจจะอยู่จุดใดจุดหนึ่ง โดยอยู่ในสัดส่วน 1 ต่อ 3 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยช่างภาพบางคน ใช้สัดส่วน 1 ต่อ 4 ก็มีให้เห็นเหมือนกันครับ

8. ใช้เเสงเเละเงา
เราก็เคยได้ยินกันบ่อย ๆอยู่เเล้วว่า การจัดวางองค์ประกอบที่ดี ต้องเข้าใจเเสงด้วย ในทางตรงกันข้ามกับเเสง ก็คือ เงา ซึ่งเงาก็ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจ เเละเงาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยให้ภาพดูโดดเด่นขึ้นได้ ไม่ว่าจะเงาที่เกิดจากเเสงในธรรมชาติ หรือเงาที่เกิดจากเเสงสังเคราะห์ก็ตาม ลองใช้เงาพาดลงบนพื้นผิวที่เเตกต่างกัน เงาก็จะสร้าง pattern ที่เเตกต่างกันด้วย

9. สร้างให้เกิดความรู้สึกตื้นลึกของภาพ
การทำให้พื้นหลังเบลอไป โดยเลือกที่จะตั้งค่ารูรับเเสง หรือการเลือกใช้เลนส์ที่ช่วยละลายพื้นหลัง โดยให้ผู้ชมได้ความรู้สึกถึงระยะที่แตกต่างกันของวัตถุ เเละพื้นหลัง โดยพื้นที่ที่ถูกเบลอไป จะช่วยให้ตัวเเบบเด่นขึ้น และลดการรบกวนที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากพื้นหลังมีบางจุดที่สามารถดึงความสนใจออกจากตัวเเบบออกไปได้

10. ศึกษาเรื่องการใช้สีเพื่อจัดองค์ประกอบ
สีค่อนข้างจะมีอิทธิพลต่อภาพด้วยเช่นกัน การใส่ใจกับการใช้โทนสีในภาพจึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ เช่นโทนสีเย็น ฟ้า น้ำเงิน ม่วง เขียว มีแนวโน้มที่จะให้บรรยากาศที่เงียบสงบ สบายใจ สบายตา และอารมณ์แปรปรวนในบบางครั้ง ขณะที่โทนสีที่อบอุ่น เช่น สีเเดง เหลือง ส้ม ชมพู นั้นมีพลังและน่าหลงใหลมากกว่า ดังนั้นภาพที่ต้องการจะสื่อ พร้อมกับอารมณ์เเละความหมาย สามารถกำหนดได้จากการใช้สีในการจัดองค์ประกอบภาพด้วยเช่นกัน

- การถ่ายภาพให้สื่ออารมณ์ด้วยการใช้สี ทำให้ภาพสื่อสารได้มากขึ้น เข้าถึงความรู้สึกมากขึ้น
- 10 วิธีการใช้ทฤษฎีสีในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ที่จะทำให้ภาพสวยขึ้นและดึงดูดสายตามากขึ้นกว่าเดิม
บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพบุคคลสำหรับมือใหม่
- การตั้งค่ากล้องถ่าย PORTRAIT สำหรับมือใหม่
- 10 วิธีโพสต์ท่าถ่ายรูปสำหรับนางแบบมือใหม่
- 14 TIPS ง่าย ๆ การถ่าย PORTRAIT สำหรับมือใหม่
- 5 ไอเดียมือใหม่ง่าย ๆ ฝึกหัดถ่ายภาพบุคคล
- 14 ไอเดียง่าย ๆ ถ่าย PORTRAIT แฟนให้สวย
- 20 ไอเดียท่าโพสถ่ายภาพผู้ชาย ง่าย ๆ คู่มือสำหรับตากล้องและนายแบบมือใหม่
- 30 ไอเดียท่าโพสถ่ายภาพ ง่าย ๆ สำหรับผู้หญิงที่ชอบถ่ายรูป
- 7 ไอเดียถ่ายภาพ PORTRAIT แฟนที่ไม่ใช่นางแบบ
- 7 เทคนิคการถ่ายภาพ PORTRAIT ตอนกลางคืน สำหรับมือใหม่ ที่สามารถทำตามได้อย่างง่าย ๆ
- 10 เทคนิคการใช้แฟลชถ่าย PORTRAIT
- 7 ไอเดียถ่ายภาพแฟนตอนไปเที่ยวให้สวย มือใหม่หัดถ่ายก็ถ่ายสวยได้
- 5 เทคนิคการถ่ายภาพย้อนแสงสำหรับภาพบุคคล
- การตั้งค่ากล้องเบื้องต้นสำหรับถ่ายภาพบุคคล
source : https://www.canva.com