Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

7 วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจ

7 วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจ เป็นทางออกสำหรับคนที่กำลังอยากจะให้ภาพถ่ายของเราดูสวย สะดุดตา เรียกความสนใจให้กับคนดูได้ และที่สำคัญการจัดองค์ประกอบ การใส่เนื้อเรื่องในภาพก็ยังลงตัวอีกด้วย เดี๋ยววันนี้เรามาดูกันว่าต้องทำอะไรบ้าง

7 วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจ, การจัดองค์ประกอบภาพ, Composition, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, Source : Petapixel

7 วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจ

ภาพถ่ายของเราต้องมีจุดสนใจเพื่อดึงดูดความสนใจ หากไม่มีจุดเด่นที่น่าสนใจ คนก็จะมองภาพถ่ายของเราแบบผ่าน ๆ ทำไมล่ะ ก็เพราะมันไม่มีอะไรน่าสนใจในภาพน่ะสิ ฮ่า ๆ

7 วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจ, การจัดองค์ประกอบภาพ, Composition, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless, Source : Petapixel

จุดสนใจที่น่าสนใจไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเด่น ๆ เสมอไป แต่อาจจะเป็นภูเขาที่โดดเด่นสุดในภาพ หรือสิ่งที่ดูน่าหลงใหลที่สุดในภาพนั่นแหละ

ลองให้คิดง่าย ๆ พอเราดูรูปสวย ๆ สักรูปนึงที่เราชอบ มันจะมีบางอย่างบอกเราอย่างชัดเจนเช่น “รถคันนี้สวยแฮะ เพราะว่าสีหรือการออกแบบ” หรือว่า “ภาพวิวนี่สวยจัง ภูเขาดูยิ่งใหญ่ แสงก็สวย” จุดเด่นในภาพจะมีลักษณะประมาณนี้แหละ

อ่านบทความสำหรับมือใหม่
– วิธีถ่ายภาพด้วยโหมด M สำหรับมือใหม่ใน 7 ขั้นตอน
– เหตุผลที่ควรใช้โหมด M
– โหมด P A S M แตกต่างกันอย่างไร และควรใช้โหมดไหน

เมื่อข้อแรกที่บอกไป เราสามารถที่จะทำให้ภาพถ่ายเรามีจุดสนใจได้แล้วก็จริง แต่นั่นอาจจะยังไม่สุด เพราะว่าไม่มีอะไรที่จะนำสายตาของคนเข้าไปยังจุดสนใจในภาพได้ เราเรียกมันง่าย ๆ ว่า “เส้นนำสายตา”

นั่นคือจุดเริ่มต้นของการจัดองค์ประกอบง่าย ๆ คือการใช้เส้นนำสายตาอาจจะเป็นอะไรก็ได้ที่มีลักษณะเป็นเส้น เพื่อลากสายตาคนดูเข้าไปยังจุดที่ต้องการ มันอาจจะเป็นแนวต้นไม้ เส้นของถนน หรืออะไรก็ตามที่มีลักษณะในการช่วยนำสายตาเข้าไปที่จุดนั้นนั่นเอง

การจัดองค์ประกอบภาพ, Composition, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless

เทคนิคการใช้เส้นนำสายตากับภาพ Landscape

3. ใช้แสงเป็นตัวนำสายตาผู้ชมเข้าสู่จุดสนใจในภาพ

นอกจากเรื่องของการจัดองค์ประกอบให้น่าสนใจด้วยเส้นนำสายตาไปก่อนหน้านี้ เรามีอีกวิธีนึงก็คือการใช้ “ทิศทางของแสง” ทิศทางของแสงเป็นอีกวิธีนึงที่สำคัญไม่แพ้กันเลย

ผมมักจะบอกเสมอว่า “แสงเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายภาพที่ดี” นั่นคือเหตุผลที่สถานที่เดิม ๆ ทำไมตากล้องหลายคนต้องไปถ่ายที่เดิมมุมเดิมซ้ำ ๆ นั่นเพราะว่าเราต้องการแสงที่ดีที่สุด แสงที่ใช่สำหรับ Location นั้นในการถ่ายภาพนั่นเอง

แสงที่ดีคือสิ่งที่ทำให้เกิดภาพที่ดีและเหมาะสมมาก ๆ ถ้าหากแสดงไม่ดีล่ะ ภาพที่ได้มันก็จะไม่มีชีวิตชีวา ไม่มีความน่าสนใจ ภาพดูแบนเรียบ และดูสีตุ่น ๆ ดูตัวอย่างด้านล่างได้เลย ถ้าหากไม่มีแสงสวย ๆ แบบนี้ภาพคงไม่น่าสนใจหรอก

การจัดองค์ประกอบภาพ, Composition, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless

เมื่อแสงสว่างกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพน่าสนใจ อยากจะให้เราทดลองฝึกที่จะทำความเข้าใจและ ถ่ายภาพให้เกิดความน่าสนใจโดยใช้แสงเป็นตัวหลักในภาพดูนะครับ

อ่านบทความสำหรับมือใหม่

47 เคล็ดลับการถ่ายภาพที่ต้องรู้สำหรับมือใหม่

10 เทคนิคการถ่ายภาพด้วย Long Exposure

4. มีการจัดองค์ประกอบภาพที่เหมาะสม และน่าสนใจ

หัวข้อนี้กลับมาอีกแล้วครับพี่น้อง 5555 การจัดองค์ประกอบภาพมันก็คงเป็นเรื่องที่สำคัญสุด ๆ นั่นแหละสำหรับการถ่ายภาพ เพราะการจัดองค์ประกอบภาพที่ดีนั้นจะทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบเป็นสิ่งหนึ่งที่จะอยู่กับเราไปตลอด และเป็นสิ่งที่เราต้องพัฒนาตลอดเวลา หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าควรจะทำยังไงเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ เดี๋ยวผมช่วยเองไม่เป็นไร ฮ่า ๆ

การจัดองค์ประกอบภาพ, Composition, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless

เบื้องต้นพื้นฐานผมอยากให้อ่านเรื่องกฎสามส่วนครับ และพวก Golden Ration ไม่ต้องห่วงผมมีบทความเขียนไว้เยอะมากเดี๋ยวลิสต์รายการให้อ่านเลย นอกจากนี้ผมอยากให้คุณฝึกมันทุกวันตราบเท่าที่เรายังรักการถ่ายภาพอยู่นะครับ และก็พยายามอย่าเคร่งครัดกับกฎเกณฑ์มากจนถ่ายรูปไม่สนุกล่ะ

รวมบทความพื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ

5. ตระหนักถึงสภาพอากาศ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพของเรา

มันเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับความจริง เพราะว่าไม่ใช่ทุกครั้งที่สภาพอากาศจะเหมาะกับการถ่ายภาพไปตลอด บางครั้งได้รับประโยชน์มาก ๆ ทำให้ภาพถ่ายเราสวยเพราะบรรยากาศเป็นใจ เหมาะสม แต่ว่าบางครั้งจะเจอคราวซวยก็ซวยไป ตั้งใจไปถ่ายวิว ฝนตกใส่ก็มี

แล้วเราทำอะไรกับกรณีนี้ได้บ้าง เราก็ควรวางแผนล่วงหน้าครับ อาจจะต้องใช้ Google เช็คสภาพอากาศ กับช่วงเวลาที่เหมาะในการไปถ่ายภาพตรงนั้น ว่าส่วนใหญ่เขาไปกันช่วงไหน ฤดูไหนสวยที่สุดเป็นต้น แน่นอนว่าเราอาจจะควบคุมมันไม่ได้ 100% แต่ช่วยเราเตรียมตัวได้แน่นอน

การจัดองค์ประกอบภาพ, Composition, พื้นฐานการถ่ายภาพ, basic photography, กล้องถ่ายรูป, Mirrorless

นอกจากนี้แล้วเราควรศึกษาด้วยว่าสถานที่นั้นควรถ่ายช่วงไหนถึงจะสวย เช้า หรือเย็น ระยะเลนส์ที่ใช้ และเตรียมเผื่อไว้ด้วยถ้าฝนตกหรืออากาศไม่เป็นใจสักเท่าไหร่ ทำยังไงเราถึงจะได้ภาพกลับมาบ้าง

6. ถ่ายภาพให้เยอะหน่อย จะได้มีมุมมองหลาย ๆ แบบให้เราเลือกใช้ในสถานที่เดียวกัน

ถ่ายภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นอาจจะเป็นคำแนะนำง่าย ๆ สำหรับคนที่เริ่มต้นถ่ายภาพมือใหม่ แน่นอนว่าการฝึกพื้นฐานเรื่องการตั้งค่ากล้องจะทำให้เรารู้ว่าควรตั้งค่าแบบไหนเพื่อให้ได้แสงพอดี แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือประสบการณ์ในการถ่ายภาพ ถ้าเราถ่ายภาพได้หลายมุมมองขึ้น ได้เยอะขึ้น แน่นอนเวลาเราเลือกภาพมาโพสต์ก็สามารถที่จะมีมุมมองที่ดีที่สุดได้มากขึ้น

ความจริงอีกด้านที่อยากให้รู้คือภาพที่น่าสนใจมันไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา หรือมันไม่ได้เกิดขึ้นในทุก ๆ วันแน่นอน นั่นคือง่ายสุดให้เราถ่ายภาพให้บ่อย และฝึกฝนทุก ๆ วันเพื่อให้เรามีโอกาสได้ภาพที่ดีอยู่เสมอ

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเรามีคอนเซ็ปต์หรือมีความตั้งใจในทุกชัตเตอร์ที่ถ่ายหรือเปล่า เพราะการกดถ่ายภาพโดยไม่คิดอะไร มันยากนะที่จะได้ภาพดี ๆ เพราะงั้นก่อนที่เราจะถ่ายภาพเราก็ควรคิดด้วยว่าเราจะถ่ายภาพไปเพื่อสื่อสารอะไร มีการบอกเล่าอะไร จัดองค์ประกอบแบบไหน เป็นต้น

7. ถ่ายภาพให้มีเรื่องราว ถ่ายให้มากกว่าภาพถ่ายธรรมดาที่ไม่ได้บ่งบอกอะไรในภาพเลย

ในที่สุดก็มาถึงข้อสุดท้ายในวันนี้ สำหรับการถ่ายภาพที่ทำให้เกิดความน่าสนใจต้องทำยังไง ถ้าหากว่าเราเพิ่งถ่ายภาพเพื่อบันทึกการเดินทาง และจุดประสงค์ของเราคือถ่ายภาพสนุกไว้แชร์กับเพื่อน ๆ ก็ไม่ต้องคิดอะไรมากครับ เราถ่ายสนุก ๆ ได้ แต่ถ้าหากว่าต้องการถ่ายภาพเพื่อเก่งขึ้นมากกว่านั้น เราต้องคิดเยอะกว่าเดิม

ผมจะตั้งโจทย์ให้ตัวเองเสมอว่าการถ่ายภาพแต่ละครั้ง เราอยากจะบอกเล่าอะไรให้คนดู แล้วเราถ่ายภาพออกมาได้แบบนั้นไหม คนดูเข้าใจแบบที่เราเข้าใจไหม แล้วแต่ละครั้งของการเดินทางเราได้อะไรกลับมาพัฒนาตัวเองบ้าง ทุกครั้งผมจะตั้งโจทย์กับมันตลอด

นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ผมอยากจะเน้นย้ำคือ ภาพถ่ายมันต้องเล่าเรื่องแทนทำพูดของเราได้ มันเป็นการสื่อสารอย่างนึง สิ่งที่เราอยากจะเล่าจะเป็นตัวกำหนดว่าภาพที่เราถ่ายนั้นจะออกมายังไง เรื่องตั้งค่ากล้องค่อยว่ากันอีกที

อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ

Exit mobile version