Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

12 เรื่องพื้นฐานและไอเดียการถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้

12 เรื่องพื้นฐานและไอเดียการถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้ เป็นบทความที่รวมเกี่ยวกับ Basic Photography ที่มือใหม่หลายคนได้ถามเข้ามา แน่นอนว่าหลายคนจะเกิดข้อสงสัยว่าเราควรไปเริ่มต้นตรงไหนดี และในแต่ละเนื้อหาที่เราควรจะโฟกัสสำหรับคนเริ่มต้นมีอะไรบ้าง

Image by Ana Tarouca available on https://unsplash.com/

ซึ่งในหัวข้อแต่ละอย่างที่ว่ามานี้เราเคยเขียนลงลึกแยกแล้วนะครับ ถ้าใครคิดว่ารายละเอียดที่เขียนในบทความนี้ยังไม่มากพอก็สามารถอ่านต่อในหัวข้อที่เราเสริมให้ในแต่ละหัวข้อได้เลยครับ

12 เรื่องพื้นฐานและไอเดียการถ่ายภาพที่มือใหม่ควรรู้

1. จุดตัดเก้าช่องและกฎสามส่วน (Rule of Thirds)

พื้นฐานที่ควรจะมีแต่แรกเริ่มเลยที่ผมอยากจะให้ลองฝึกคือ Rule of Thirds หรือว่ากฎสามส่วน (บ้านเราจะเรียกกฎสามส่วนและจุดตัดเก้าช่อง แต่เรียกรวมว่า Rule of Thirds นั่นแหละ)เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่มักจะพูดถึงบ่อยครั้ง

สิ่งนี้จะทำให้เราเริ่มต้นถ่ายภาพโดยจัดองค์ประกอบพื้นฐานง่าย ๆ โดยเน้นที่การแบ่งสัดส่วนของภาพ และการวางสิ่งที่น่าสนใจไว้ตรงจุดตัด สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่รู้เรื่องนี้ผมรวมบทความ Basic ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านในส่วนต่าง ๆ ที่ชอบได้เลยครับ

อ่านพื้นฐานเกี่ยวกับ กฎสามส่วน และ จุดตัดเก้าช่องสำหรับมือใหม่

2. การฝึกวางจุดสนใจไว้ที่กลางภาพ (Center Composition)

บางคนก็บอกว่า การถ่ายรูปโดยให้จุดโฟกัสอยู่ตรงกลางไม่ได้ ภาพจะดูน่าเบื่อหรือว่าดูเรียบแบนเกินไป เเต่การถ่ายภาพเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้มีกฏวางไว้ให้ตายตัว ดังนั้นการฝึกวางภาพไว้ตรงกลาง โดยอาจจะเว้น space ด้านซ้ายขวาไว้ด้วยก็ได้ เพื่อให้จุดสนใจดูเด่นชัดขึ้น อาจจะมีบ้างที่เรารู้สึกว่าดูเรียบง่ายเกินไป แต่เชื่อเถอะ เราจะสัมผัสได้มากขึ้นว่าการถ่ายภาพสามารถจัดได้หลากหลายแบบ และการจัดไว้ตรงกลางก็ถ่ายได้เหมือนกัน

Image by Javier García available on https://unsplash.com/
Image by Anthony Bevilacqua available on https://unsplash.com/

รวมบทความเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพให้มีความน่าสนใจสำหรับมือใหม่

3. การวางจุดสมดุลของภาพ (Balance element and symmetry)

บางครั้งการวางเเค่จุดตัดของกฏจุดตัดเก้าช่องก็ยังไม่พอ ต้องคำนึงถึงน้ำหนักของภาพด้วย ซึ่งหลักการจัดภาพให้ดูสมดุลก็มีหลายวิธีครับ ตั้งแต่การจัดความสมดุลให้มีความสมมาตร หรือการจัดบาลานซ์ด้วยสี นอกจากนี้ยังมีการจัดความสมดุลเชิงความคิด (Concept Balance) ด้วย ถ้าหากว่าผู้อ่านสนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพเพื่อจัดสมดุลของภาพ สามารถดูได้จากลิงก์รวมบทความครับ

อ่านบทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพให้เกิดความสมดุลสำหรับมือใหม่

4. เส้นนำสายตา (LEADING LINES)

สิ่งที่ใช้บ่อยมาก ๆ เพื่อทำให้ภาพถ่ายของเราเกิดความน่าสนใจก็คือเรื่องขอเส้นนำสายตานี่แหละครับ เส้นนำสายตามีหลากหลายแบบมาก ซึ่งเราสามารถใช้เส้นนำสายตาเพื่อดึงความสนใจของผู้ชมไปยังจุดสนใจในภาพ สิ่งที่เราต้องเรียนรู้คือ เราจะสามารถนำวัตถุตรงไหนได้บ้างเพื่อใช้เป็นเส้นนำสายตา และมีการจัดเส้นนำสายตากับภาพแบบไหนได้บ้าง แนะนำว่าลองอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นนำสายตาดูครับ จะสามารถเข้าใจเรื่องการถ่ายภาพให้น่าสนใจมากขึ้นโดยการใช้เส้นนำสายตาเป็นส่วนหนึ่งในภาพครับ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เส้นนำสายตาในภาพถ่ายของเราได้ที่นี่เลย

5. ฝึกเลือกที่จะใช้มุมมองภาพที่หลากหลายในการถ่ายภาพ

ก่อนจะถ่ายภาพ ต้องดูก่อนว่าจะถ่ายภาพออกมาในมุมไหน ระดับสายตา ถ่ายจากพื้น หรือถ่ามมุมสูง ใกล้ตัวเเบบ หรือไกลตัวเเบบ มุมไหนที่จะทำให้ภาพดูน่าสนใจ ดูมี imact ภาพเเบบไหนที่น่าจะถ่ายมุมสูง เเบบไหนถ่ายใกล้ เเบบไหนต้องเป็นภาพไกล ๆ การเล่าเรื่องในมุมที่แตกต่างกัน ก็ให้ความรู้สึกและเรื่องราวที่ไม่เหมือนกัน

Image by @wflwong available on https://unsplash.com/
Image by Mitya Ivanov available on https://unsplash.com/

รวมบทความเกี่ยวกับการเลือกใช้มุมมองที่หลากหลายในการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่

6. ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของ ฉากหน้า ฉากหลัง (Foreground, Background)

ตอนที่เราถ่ายภาพแรก ๆ เรามักจะไม่ค่อยใส่ใจกับฉากหน้า ฉากหลังกันเท่าไหร่ เพราะด้วยที่ยังสัมผัสภาพในลักษณะต่าง ๆ ออกได้ไม่ชัดเจนนัก (เรื่องปกติ) แต่เมื่อเราถ่ายภาพและเริ่มสังเกตฉากหน้าฉากหลังออกแล้ว แนะนำว่าควรฝึกที่จะใส่ใจเกี่ยวกับ Foreground และ Background ให้มากขึ้นครับ เพราะทั้งสองอย่างนี้เป็นส่วนเสริมในภาพ ทำให้ภาพของเรามีเรื่องราวที่สมบูรณ์มากขึ้นได้

บทความเกี่ยวกับ Foreground และ Layer ที่จะทำให้ภาพถ่ายเราสวยขึ้น

7. ฝึกถ่ายภาพเพื่อเก็บจังหวะ และความเคลื่อนไหว

ในการถ่ายภาพบ่อยครั้งมีเรื่องของของหวะ และการเก็บบรรยากาศในช่วงเวลาสำคัญสั้น ๆ ซึ่งมักจะเกิดในงานวันสำคัญ งานแต่งงาน งานวันเกิด หรือว่าช่วงเวลาที่เราไปเที่ยว เราจะรู้สึกได้ว่าความรู้สึกสำคัญเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ การที่จะทำให้เราฝึกเก็บจังหวะเหล่านี้เราต้องฝึกถ่ายภาพให้บ่อยและสังเกตให้มากขึ้นครับ เริ่มต้นอาจจะถ่ายในช่วงเวลาที่คนรักของเรายิ้ม หรือว่าช่วงเวลามีความสุขระหว่างเรากับคนรอบตัวก็ได้ครับ

เทคนิคเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วยความเร็วสูง

8. ถ่ายภาพโดยเล่าเรื่องจากเงาสะท้อน

วัตถุหลายอย่างที่มีลักษณะพิเศษในการสร้างเงาสะท้อน สามารถนำมาใช้ในการถ่ายภาพให้ดูน่าสนใจมากขึ้นได้ อาจจะเป็นน้ำ กระจก ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวในภาพ หรือจัดองค์ประกอบภาพให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้ แนะนำว่าให้ลองดูทำดูนะครับ

บทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพให้สวยด้วยเงาสะท้อน

9. ถ่ายภาพย้อนแสง ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจได้มากขึ้น

หากย้อนกลับไปเมื่อปีสองปีก่อนในเรื่องของการถ่ายภาพ หลายคนอาจจะยังไม่ได้เปิดใจเรื่องการถ่ายภาพย้อนแสงมากนัก มือใหม่หลายคนที่อ่านถึงตรงนี้ผมก็อยากแนะนำให้ลองถ่ายภาพย้อนแสงดูครับ ทำให้เราได้ภาพที่สวย และดึงดูดสายตามากเลยนะ เพียงแค่อาจจะต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้นเพื่อที่จะสามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายออกมาให้น่าสนใจได้

รวมบทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพย้อนแสงสำหรับมือใหม่

10. ให้ความสำคัญกับเรื่องราวในภาพและสิ่งที่ต้องการสื่อสาร

พื้นฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความคิดของเราคือการเตรียมเรื่องราว และการสร้างสรรค์ภาพออกมาให้สื่อสารออกมาได้ บ่อยครั้งในตอนที่ผมเริ่มหัดถ่ายภาพใหม่ ๆ ผมมักจะมองข้ามเรื่องราว หันไปโฟกัสกับเทคนิคและการตั้งค่าเพียงอย่างเดียว ทำให้ภาพที่ถ่าย ขาดเสน่ห์ ขาดเรื่องราวที่จะใช้สื่อสารไปครับ

11. เรื่องแสงในแต่ละช่วงเวลาสำคัญมาก ควรฝึกซ้อมทำความเข้าใจกับแสงแต่ละแบบให้ดี

นอกจากจะเรื่ององค์ประกอบแล้ว เรื่องของเนื้อหาในภาพก็แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ใครเพื่อนเหมือนกันก็คือเรื่องของแสง ซึ่งแสงแต่ละแบบมาความแตกต่างกันมากในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งส่งผลให้ภาพที่เราถ่ายออกมามีความแตกต่างของเรื่องราวและอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นถ้าหากว่าเรามีเวลาเพิ่มขึ้นอยากให้เราทำความเข้าใจเกี่ยวกับแสงด้วยนะครับ

รวมบทความพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องแสงสำหรับมือใหม่

12. พื้นฐานเรื่องการตั้งค่ากล้อง การควบคุมกล้อง ให้ได้ภาพอย่างที่เราคิดก็สำคัญเหมือนกัน

อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนชอบก็คือ เรื่องของการควบคุมกล้อง การตั้งค่ากล้อง เพื่อให้ได้ภาพอย่างที่เราต้องการ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่มือใหม่สนใจมาก ๆ เพราะการตั้งค่าที่ถูกต้อง สามารถนำมาซึ่งภาพอย่างที่เราได้วางแผนเอาไว้ในหัวแต่แรกแล้ว

ซึ่งผมอยากจะแนะนำคือ หลายอย่างที่เล่ามากนี้เราใช้พร้อม ๆ กันนะครับ ตั้งแต่การจัดองค์ประกอบภาพ การเข้าใจเรื่องแสง เรื่องราวในภาพ แล้วก็การตั้งค่า เพราะงั้นแล้วไม่อยากให้เราโฟกัสแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้ทำงานร่วมกันทั้งหมดครับ

รวมบทความเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องสำหรับมือใหม่และการใช้โหมดต่าง ๆ

Exit mobile version