Site icon เว็บสอนถ่ายภาพ สอนถ่ายวิดีโอ และผลิตคอนเทนต์ ที่เข้าใจมือใหม่มากที่สุด

8 เทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพเเนว Landscape ให้เก่งขึ้น

8 เทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพเเนว Landscape ให้เก่งขึ้น การออกเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ ที่มีลักษณะภูมิประเทศที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นภูเขา หรือทะเล เเน่นอนว่าต้องอยากถ่ายภาพเก็บไว้ เพื่อเตือนความทรงจำ เเละอยากถ่ายเก็บมาเพื่อให้คนที่ไม่ได้ไปด้วย ได้เห็นในสิ่งที่เราไปเจอมา เเต่หลายครั้งถ่ายภาพมาเเล้ว กลับดูไม่ใช่อย่างที่คิด เหมือนมีอะไรบางอย่างขาดหายไป บทความ 8 เทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพเเนว Landscape จะช่วยแนะนำการเรียนรู้ ศึกษาวิธีคิด เเละทำให้ถ่ายภาพเก่งขึ้นได้ 

8 เทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพเเนว Landscape ให้เก่งขึ้น

1. เรียนรู้จากการดูภาพ การดูหนัง โปสการ์ด หนังสือถ่ายภาพ

ภาพที่สวยงาม มักจะดึงดูดสายตาเสมอ ดึงดูสายตาของเราเช่นกัน ดังนั้นภาพ Landscape สวย ๆ ในอินเตอร์เน็ต ในสื่อต่าง ๆ ลองเอามาดู มาเทียบกับงานของเรา เเละศึกษาว่า มีวิธีการจัดวางองค์ประกอบอย่างไรบ้าง การใช้สี เเสง เช่นนิตยสาร National Geographic เป็นตัวอย่างที่ดีมากในการศึกษาการถ่ายภาพ (อาจจะทำตามไม่ได้ขนาดนั้น เเต่พอจะให้เห็นว่า มืออาชีพเค้ามีมุมมองอย่างไร) หรืออาจะเป็นสื่ออื่น เช่น หนังสือท่องเที่ยว เพจของ blogger หรือเเม้เเต่ตอนดูหนัง ก็สามารถเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบภาพ เเละการจัดวางเเสง โทนสีด้วยเหมือนกัน 

2. การวางตำเเหน่งจุดที่อยากจะให้เห็นเป็นสิ่งเเรก ที่จุดตัดเก้าช่อง 

จุดตัดเก้าช่อง หรือ ทฏษฎีกฏสามส่วน (Rule of Thirds) จะช่วยในการวางองค์ประกอบของภาพได้ดีขึ้น โดยจุดตัดเก้าช่อง เกิดจากการตัดกันของเส้นเเนวนอนสองเส้น เเละเส้นเเนวตั้งสองเส้น เกิดช่องเก้าช่อง เเละจุดที่เส้นตัดกันอยู่ 4 จุด ซึ่งสิ่งที่อยู่บนจุดทั้ง 4 จุดนั้น จะเป็นจุดที่ดึงความสนใจ ไปจุดนั้นได้อย่างอัตโนมัติ 

เปิดการใช้งาน Grid ขึ้นมา (ได้ทั้งจากในกล้องถ่ายรูป เเละในกล้องมือถือ) ก็จะเห็นช่องเเละจุดตัดดังกล่าว อะไรที่อยากจะถ่ายให้ดูเด่นที่สุด ภูเขา น้ำตก เรือ คน หรือสัตว์ก็ตาม ให้วางไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งของจุดตัดที่เกิดขึ้นนั้นก็จะทำให้วัตถุที่อยู่ตรงจุดตัด ดึงดูดความสนใจของคนดูได้มากขึ้น

3. ภาพจะต้องเล่าเรื่อง มีเรื่องราวที่สื่อสารออกมาให้คนดูเข้าใจ

อาจจะต้องเติมความมีชีวิตชีวาเข้าไปในภาพด้วย เช่นการถ่ายภาพให้มีคน หรือสัตว์ เดิน หรือยืนอยู่ในภาพ เพื่อให้คนดู ได้นึกจินตนาการออกว่า มีเรื่องราวอะไรให้คิดตามได้ อาจจะเป็นสายน้ำที่กำลังไหลเอื่อย มีนกบินอยู่บนท้องฟ้า หรือความยิ่งใหญ่ของภูเขาสูงที่ด้านล่างมีหมู่บ้าน หรือชุมชนท้องถิ่นอาศัยอยู่ เหมือนการดึงคนดูให้เข้าไปยืนใจจุดที่เราถ่ายภาพออกมานั่นเอง 

4. ศึกษาการใช้เเสงธรรมชาติในการถ่ายภาพ 

การถ่ายภาพโดยใช้เเสงธรรมชาติ จะช่วยให้ภาพได้สีสันที่เสมือนจริง เหมือนมองได้จากสายตาของมนุษย์มากที่สุด ศึกษาการใช้เเสงธรรมชาติรู้ช่วงเวลาที่จะถ่ายภาพออกมาเเล้วสวย เช่นช่วงเช้า หรือช่วงเย็น ที่เเสงจะไม่เเรงจัดมาก เเสงเเละเงาก็สวย

5. ใช้กล้องที่มีอยู่ให้คล่อง อ่านและศึกษาจากคู่มือการใช้กล้อง

กล้องที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูป หรือกล้องมือถือก็ตาม ใช้ให้คล่อง ปุ่มไหนปรับอะไรอย่างไร ISO ปรับตรงไหน รูรับเเสงปรับอย่างไร โฟกัส ซูมเข้าออก อ่านคู่มือการใช้งานของกล้องด้วยเพื่อให้รู้ว่า ความสามารถของกล้องมีอะไรบ้าง โหมดไหนใช้อย่างไร เเละมีข้อจำกัดอะไรที่ต้องรู้บ้าง เพื่อให้การถ่ายภาพรวดเร็วมากขึ้น ที่สำคัญจะได้ใช้กล้องให้เต็มประสิทธิภาพ (ซื้อมาเเพง ต้องใช้ให้คุ้มนั่นเอง) 

6. ใช้ฟิลเตอร์เพื่อทำให้อิ่มสีขึ้น เเละลดการสะท้อน

มีคนบอกว่า “อย่าหวังว่าจะได้ผลลัพท์ใหม่ ถ้ายังใช้เครื่องมืออันเดิม” บางครั้งก็ต้องลงทุน หรือปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม ในการถ่ายภาพ Landscape ก็เช่นกัน ลงทุนซื้อฟิลเตอร์มาใช้ เช่น PL Filter / C-PL Filter (Polarizer Filter, Circular Polarizer Filter) เป็นฟิลเตอร์ที่จะช่วยในการตัดแสงสะท้อนออกจากวัตถุทำให้ได้รายละเอียดของภาพที่มากขึ้น สีสันของท้องฟ้าดู อิ่มสีขึ้น

หรืออาจจะเป็น ND Filter (Nautral Density Filter) ที่จะช่วยเรื่องของการตัดแสงออก เพราะถ้าหากต้องการ Shutter Speed ที่นาน ๆ ในตอนกลางวัน (ถ่ายภาพการเคลื่อนที่ของน้ำตก ท้องฟ้า หรือทะเลฟุ้ง) ถ้าไม่ใช้แสงจะเข้ากล้องมากเกินไปเลยต้องมีฟิลเตอร์ช่วย เเถมยังจะได้ภาพที่สีสด อิ่มสีขึ้นด้วย 

7. อดทน อดทน อดทน

การถ่ายภาพ Landscape บางครั้งก็ต้องใช้เวลาในการปรับตั้งค่าเเสง หรือจังหวะการถ่ายรูปยังไม่ได้อย่างที่ต้องการ เช่นในสถานที่ท่องเที่ยว คนอาจจะเดินอยู่ในจุดที่เราต้องการจะถ่ายภาพ อาจจะต้องรอเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น อาทิตย์ตก น้ำขึ้น น้ำลง ดังนั้น ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจจะต้องใช้เวลาในการที่จะให้ได้ภาพอย่างที่ต้องการ 

8. ใช้สีเข้ามาช่วย Post – processing เพื่อจะสร้างอารมณ์ภาพ และทำให้ภาพโดดเด่นขึ้น

หลังจากที่ถ่ายภาพกลับมาเเล้ว บางภาพอาจจะต้องนำกลับมาปรับสีเเต่งเเสงบ้าง เช่น การเเต่งสีของภาพ โดยใช้ Preset จาก Lightroom เพื่อให้ได้โทนสีที่ต้องการจะสื่ออารมณ์ได้ชัดเจนมากขึ้น หรือการปรับสีให้เข้มขึ้น ปรับความเปรียบต่าง ปรับความคมชัด หรือเเต่งภาพบางจุด เเต่ก็ระวังอย่าให้ดูเกินจริงไปก็เเล้วกันเนาะ

รวมบทความถ่ายภาพ PORTRAIT เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ ตั้งแต่ BASIC PHOTOGRAPHY และ PORTRAIT PHOTOGRAPHY แบบครบจบทุกหัวข้อ

Exit mobile version